มาทำความรู้จักกับโรคภูมิแพ้กันดีกว่า


โรคภูมิแพ้ หรือโรคแพ้ (Allergy) หมายถึง โรคที่เกิดขึ้นกับผู้ที่มีอาการไวผิดปกติต่อสิ่งซึ่งสามารถก่อให้เกิดภูมิแพ้ (Allergen) ซึ่งธรรมชาติสารเหล่านี้อาจไม่ก่อให้เกิดภูมิแพ้กับคนปกติทั่วไป โรคภูมิแพ้เกิดได้ทุกเพศทุกวัย เด็กอายุ 5 ถึง 15 ปี มักพบว่าเป็นบ่อยกว่าช่วงอายุอื่นๆ เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่โรคแสดงออกหลังจากได้รับ "สิ่งกระตุ้น" มานานเพียงพอ อย่างไรก็ตามบางคนอาจเริ่มเป็นโรคภูมิแพ้ตอนเป็นผู้ใหญ่แล้วก็ได้ โรคภูมิแพ้นั้นมิใช่โรคติดต่อ แต่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม จากรุ่นคุณปู่คุณย่า คุณตาคุณยาย คุณพ่อคุณแม่ มาสู่ลูกหลานได้ อาจพบว่าในครอบครัวนั้นมีสมาชิกป่วยเป็นโรคภูมิแพ้หลายคน ตัวการที่ทำให้เกิดอาการแพ้ เรียกว่า สารก่อภูมิแพ้ (Allergens) หรือ สิ่งกระตุ้น ซึ่งอาจเข้าสู่ร่างกายทางระบบหายใจ การรับประทานอาหาร การสัมผัสทางผิวหนัง ทางตา ทางหู ทางจมูก หรือโดยการฉีดหรือถูกกัดต่อยผ่านผิวหนัง ตัวการที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้มีอยู่รอบตัว สามารถกระตุ้นอวัยวะต่างๆ จนก่อให้เกิดอาการแพ้ได้

อวัยวะที่ก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้
ทางลมหายใจ ถ้าสิ่งกระตุ้นผ่านเข้ามาทางลมหายใจ ตั้งแต่รูจมูกลงไปยังปอด ก็จะทำให้เป็นหวัด คัดจมูก จาม น้ำมูกไหล คันคอ เจ็บคอ ไอ มีเสมหะ เสียงแหบแห้ง และลงไปยังหลอดลม ทำให้หลอดลมตีบตัน เป็นหอบหืด
ทางผิวหนัง ถ้าสิ่งกระตุ้นเข้ามาทางผิวหนัง จะทำให้เกิดผื่นคัน น้ำเหลืองเสีย
ทางอาหาร ถ้าสิ่งกระตุ้นเข้ามาทางอาหาร จะทำให้ท้องเสีย อาเจียน ถ่ายเป็นเลือด เสียไข่ขาวในเลือด อาจทำให้เกิดอาการทางระบบอื่นๆ ได้ เช่น ลมพิษ หน้าตาบวม
ทางตา ถ้าสิ่งกระตุ้นเข้ามาทางตา จะทำให้เกิดอาการแสบตา คันตา หนังตาบวม น้ำตาไหล

สารก่อภูมิแพ้ที่พบทั่วๆ ไป
สารก่อภูมิแพ้ซึ่งเป็น "ตัวการ" ของโรคภูมิแพ้ ที่มักพบบ่อยๆ ได้แก่
1. ฝุ่นบ้าน ตัวไรฝุ่นบ้าน มักปะปนอยู่ในฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 0.3 มม. มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า
2. เชื้อรา มักปะปนอยู่ในบรรยากาศ ตามห้องที่มีลักษณะอับชื้น
3. อาหารบางประเภท อาหารบางอย่างจะเป็นตัวการของโรคภูมิแพ้ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารจำพวก
- อาหารทะเล เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา อาหารอีกจำพวกที่พบได้บ่อยคือ แมงดาทะเล ปลาหมึก อาจทำให้เกิดลมพิษผื่นคันได้บ่อยๆ เด็กบางคนอาจแพ้ไข่แมงดาทะเลอย่างรุนแรง ซึ่งอาจทำให้มีอาการบวมตามตัว หายใจไม่ออกเป็นต้น
- อาหารประเภทหมักดอง เช่น ผักกาดดอง เต้าเจี้ยว น้ำปลา เป็นต้น เด็กบางคนอาจแพ้เห็ดซึ่งจัดว่าเป็นราขนาดใหญ่ เด็กบางคนแพ้ไข่ขาว อาจทำให้เกิดอาการผื่นคันบนใบหน้าได้ บางคนอาจจะแพ้ผลไม้จำพวกที่มีรสเปรี้ยวจัด กลิ่นฉุนจัด เช่น ทุเรียน ลำใจ สตรอเบอรี่ กล้วยหอม และอื่นๆ
4. ยาแก้อักเสบ ยาที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้บ่อยๆ นั้นได้แก่ ยาปฎิชีวนะ พวกเพนนิซฺลิน เตตราไวคลิน นอกจากนั้นยังมีพวกซัลฟา ยาลดไข้แก้ปวดพวกแอสไพริน ไดไพโรน ยาระงับปวดข้อปวดกระดูก อาจทำให้เกิดลมพิษผื่นคันจองผิวหน้า พวกเซรุ่มหรือวัคซีนเป็นกันโรคโดยเฉพาะวัคซีนสกัดจากเลือดม้า เช่น เซรุ่มต้านพิษงู แพ้พิษสุนัขบ้า เป็นต้น
5. แมลงต่างๆ แมลงที่มักอาศัยอยู่ภายในบ้าน เช่น แมลงสาบ แมงมุม มด ยุง ปลวก และแมลงที่อาศัยอยู่นอกบ้าน เช่น ผึ้ง แตน ต่อ มดนานาชนิด เป็นต้น
6. เกสรดอกหญ้า ดอกไม้ ตอกข้าว วัชพืช สิ่งเหล่านี้มักปลิวอยู่ในอากาศตามกระแสลม ซึ่งสามารถพัดลอยไปได้ไกลๆ หรืออาจเป็นลักษณะขุยๆ ติดตามมุ้งลวดหน้าต่าง เกสรดอกหญ้าที่ปลิวมาตามสายลม
7. ขนสัตว์ ขนของสัตว์เลี้ยงเป็นต้นเหตุของโรคภูมิแพ้ เช่น ขนแมว ขนสุนัข ขนนก ขนเป็ด ขนไก่ ขนกระต่าง ขนนกหรือขนเป็ด ขนไก่ที่ตากแห้งใช้ยัดที่นอนและหมอน สำหรับนุ่น ฟองน้ำ ยางพารา ใยมะพร้าว เมื่อใช้ไปเป็นระยะเวลานานก็จะสามารถเป็นสารก่อภูมิแพ้ได้เช่นกัน

วิธีรักษาโรคภูมิแพ้
- หาต้นเหตุและหลีกเลี่ยงสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้
วิธีรักษาโรคภูมิแพ้ทีดีที่สุดคือการค้นหาสาเหตุของการแพ้นั้นให้พบ เช่น การสอบถามประวัติและอาการของโรค พร้อมทั้งวิเคราะห์สภาพแวดล้อมรอบๆ ตัว เช่น บ้าน รถยนต์ โรงเรียน สัตว์เลี้ยง งานอดิเรก ตรวจร่างกายและทดสอบทางผิวหนัง เมื่อทราบว่าแพ้สารใดแล้ว ควรหลีกเลี่ยงสารที่ให้เกิดภูมิแพ้ที่ถูกต้องและอาการของโรคภูมิแพ้ก็จะทุเลา ในทางปฏิบัตินั้นการหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้นั้นทำได้ยาก เพราะชีวิตประจำวันนั้นต้องเผชิญกับสารก่อภูมิแพ้กระจายอยู่รอบๆ ตัว เช่นฝุ่นบ้าน ไรฝุ่น เชื้อรา และอื่น ๆ เมื่อเป็นเช่นนี้การรักษาอาการของโรคอันเป็นปัญหาเฉพาะหน้าจึงเป็นสิ่งจำเป็นและได้มักจะได้ผลดี แพทย์อาจให้รับประทานยาแพ้แพ้ แก้หอบ แก้ไอร่วมด้วย เป็นต้น
- ฉีดวัคซีนให้ร่างกายเกิดภูมิต้านทาน
มีวิธีการรักษาโรคภูมิแพ้อีกประการหนึ่งที่เป็นการรักษาได้ผลดีพอสมควร ได้แก่การหาสาเหตุของโรคภูมิแพ้ให้พบแล้วนำสารก่อภูมิแพ้ที่ตรวจพบนี้นำมาผลิตวัคซีนให้ผู้ป่วย เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานสารที่แพ้ (อิมมูโนบำบัด) คือ รักษาให้ร่างกายเกิดภูมิต้านทานสารที่แพ้ หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การรักษาเพื่อ ลดภูมิไว คือให้ร่างกายลดความไวต่อสารที่ก่อให้เกิดโรค

ขอบคุณข้อมูลจาก
http://health.phahol.go.th

โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ


การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (Urinary tract infecton) เป็นภาวะติดเชื้อจาก microorganism ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะ โดยตรวจพบแบคทีเรียในปัสสาวะ การติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นการย้อนของเชื้อจากส่วนล่างขึ้นไป (ascending infection) คือเชื้อเข้าทางท่อปัสสาวะแล้วลุกลามต่อมาในกระเพาะปัสสาวะหรือไต โดยพบว่าเพศหญิงมีโอกาสติดเชื้อได้มากกว่าเพศชายโดยเฉพาะในช่วงวัยเจริญพันธุ์มีโอกาสเกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้บ่อย เนื่องจาก urethra ของผู้หญิงสั้นกว่าผู้ชาย จึงทำให้ส่วนปลายของ urethra ถูกปนเปื้อนได้ง่ายจากเชื้อในอุจจาระ หรือจากช่องคลอดระหว่างที่มีเพศสัมพันธุ์ อีกทั้งน้ำเมือกที่หลั่งจากต่อมลูกหมากยังมีฤทธิ์เป็น antibacterial อีกด้วย

อาการของการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
อาการขึ้นกับว่าติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะระดับไหน ถ้าติดเชื้อแค่ในกระเพาะปัสสาวะ อาจมีอาการปัสสาวะแสบขัด ขุ่น ปัสสาวะบ่อยขึ้น แต่ถ้าติดเชื้อที่กรวยไต จะมีไข้ ปวดหลังร่วมด้วย ซึ่งต้องรับการรักษาด้วยยาฉีดปฏิชีวนะในโรงพยาบาล อย่างไรก็ตามผู้ป่วยสูงอายุจำนวนมาก อาจมีอาการที่ไม่จำเพาะกับการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เช่น ซึม สับสน เบื่ออาหาร กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เป็นต้น

วิธีปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ
- การทำความสะอาดหลังการขับถ่าย ควรเช็ดทำความสะอาดจากหน้าไปหลัง เชื้อแบคทีเรียที่อยู่ใน
อุจจาระ เป็นตัวก่อโรคที่สำคัญของโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
- ดื่มน้ำมากๆและปัสสาวะให้เป็นเวลา ควรปัสสาวะทุก 3-4 ชั่วโมง และก่อนนอน ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ
เพราะปัสสาวะที่ค้างนานๆ ในกระเพาะปัสสาวะ จะเป็นอาหารชั้นดีของเชื้อแบคทีเรีย
- หลีกเลี่ยงท้องผูก ฝึกการถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลาทุกวัน
- หลีกเลี่ยงการระคายเคืองที่เกิดขึ้นบริเวณท่อปัสสาวะ เช่น การใส่กางเกงที่รัดมากๆ การใส่สบู่เหลวลงไป
ในอ่างอาบน้ำ เป็นต้น
- การดื่มน้ำผลไม้แครนเบอรี่ (Cranberry juice) จะสามารถลดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้

ขอบคุณข้อมูลจาก
www.ram-hosp.co.th และ http://cyberclass.msu.ac.th

สรรพคุณลำไยอบแห้ง


การแพทย์แผนโบราณของจีน นิยมใช้ลำไยอบแห้งมาเป็นส่วนผสมในตัวยา มีสรรพคุณใช้บำรุงเลือด บำรุงร่างกาย บำรุงม้าม บำรุงกำลัง บำรุงประสาทตา บำรุงผิวพรรณ ช่วยย่อยอาหารช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และช่วยบำรุงกำลังของสตรีภายหลังจากการคลอดบุตร นอกจากนี้ลำไยอบแห้งยังช่วยบำรุงประสาท ในคนที่เป็นโรคประสาทอ่อน ๆ นอนไมหลับ ใจสั่น เมื่อได้ทานลำไยอบแห้งไปแล้วจะช่วยให้หลับสบาย ช่วยระงับประสาทที่อ่อนเพลียจากการตรากตรำทำงานหนัก ขี้หลง ขี้ลืม ช่วยให้ความจำดี ช่วยลดความเครียด ชาวจีนโบราณนิยมกินเนื้อลำไยอบแห้งเป็นของขบเคี้ยว หรือนำไปต้มเป็นน้ำลำไยดื่มอุ่นๆ บ้างก็เอามาปรุงเป็นอาหาร จะหั่นฝอยผัดกับข้าวก็ได้ หรือจะเอามาต้มน้ำแกงก็มีประโยชน์ต่อผิวพรรณและสุขภาพเช่นกัน

ผลการวิจัยในประเทศไทย พบว่าในลำไยแห้งมีฤทธิ์ยับยั้งสารก่อมะเร็ง ช่วยลดอนุมูลอิสระในเม็ดเลือดขาว และในอนาคตอาจนำมาใช้ร่วมกับการรักษาโรคมะเร็งเพราะจะให้ได้ผลที่ข้างเคียงน้อยลงหรือไม่มีเลย ทำให้ลดขนาดการใช้ยาหรือเคมีบำบัดลง ทั้งยังยืนยันสรรพคุณประโยชน์ของลำไยว่ามีสารออกฤทธิ์เหนี่ยวนำเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่และเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวให้ตาย สารที่ยับยั้งความเป็นพิษของสารก่อมะเร็งทางเดินอาหาร สารที่ออกฤทธิ์ลดการเสื่อมสลายของข้อเข่า ผลการวิจัยล่าสุดได้พบว่าลำไยแห้งสามารถออกฤทธิ์ทำลาย และต่อต้านอนุมูลอิสระได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยับยั้งกระบวนการสร้างเม็ดสีผิวเมลานิน ได้ดีกว่าสารเคมีที่ใช้ในเครื่องสำอางปัจจุบัน

 
Design by Pitchaya.net | Bloggerized by สูตรอาหาร | ขายลำไยอบแห้ง ลองกานอยด์ Health Lover นิ้วล็อค สารสกัดงาดำ เอมมูร่า เซซามิน