อาการยังไงที่คุณถึงจะรู้ว่าเป็น “ นิ้วล็อค ”



สำหรับคนวัยทำงานหลายๆ คนอาจจะพบว่าตัวเองกำลังมีอาการแปลกๆ เกิดขึ้นกับนิ้วมือของตัวเอง แต่ยังไม่รู้ว่าตัวเองเป็นอะไรกันแน่ จะใช่อาการนิ้วล็อคหรือเปล่า ต้องมาดูอาการของการเกิดนิ้วล็อคกันเลยค่ะ โดยจะเริ่มจากมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ แล้วจะกำมือค่อยไม่ถนัด จะกำได้ไม่เต็มที่ โดยเฉพาะในช่วงตอนเช้าหลังตื่นนอน พอเริ่มใช้มือไปสักพักหนึ่งก็จะกำมือได้ดีขึ้น เวลางอไว้ซักพักพอจะเหยียดนิ้วมือ ก็จะได้ยินเสียงดังกึก ต่อมาจะมีของอาการนิ้วล็อค คือ เวลางอนิ้วมือแล้วจะเหยียดขึ้นเองไม่ได้ มักเกิดกับมือข้างที่ถนัดที่ใช้งานบ่อยๆ นิ้วที่ที่พบว่าเป็นบ่อย ได้แก่ นิ้วหัวแม่มือ นิ้วกลาง และนิ้วนาง หรืออาจจะเป็นเพียงนิ้วเดียว หรือเป็นพร้อมกันหลายนิ้วก็ได้ บางรายอาจรุนแรงถึงถึงขั้นนิ้วบวมชา ติดแข็งจนใช้งานไม่ได้ ซึ่งได้มีการแบ่งระยะของ “ นิ้วล็อค ” ตามลักษณะอาการของโรค เป็น 4 ระยะ ดังนี้

1. ระยะแรก มีเพียงอาการปวดเป็นอาการหลัก โดยจะเริ่มปวดมากบริเวณโคนนิ้วมือ และจะมีอาการปวดมากขึ้น ถ้าเอานิ้วกดบริเวณฐานนิ้ว มือด้านหน้า แต่จะยังไม่พบว่ามีอาการติดสะดุด

2. ระยะที่สอง จะพบว่ามีอาการสะดุด (triggering) เป็นอาการหลัก และอาการปวดก็มักจะค่อยๆ เพิ่มมากขึ้นด้วย เวลาขยับนิ้ว งอนิ้ว และเหยียด จะมีการสะดุดจนเจ้าตัวรู้สึกได้

3. ระยะที่สาม จะมีอาการติดล็อคเป็นอาการหลักๆ โดยเมื่องอนิ้วลงไปแล้ว จะติดล็อคจนไม่สามารถเหยียดนิ้วออกเองได้ ต้องเอามืออีก ข้างมาช่วยแกะ หรืออาจมีอาการมากขึ้นจนไม่สามารถงอนิ้วลงได้เอง

4. ระยะที่สี่ มีอาการอักเสบปวดบวมมากขึ้น จนนิ้วบวมติดอยู่ในท่างอเล็กน้อย ไม่สามารถเหยียดให้ตรงได้ ถ้าใช้มือมาช่วยเหยียดจะปวดมาก

ทีนี้ก็พอจะรู้แล้วใช่มั๊ยคะว่าเรามีอาการเป็นนิ้วล็อคหรือเปล่า ถ้าใช่เราก็มาดูวิธีการดูแลตนเองจากอาการนิ้วล็อคกันค่ะ

1. ไม่ควรขยับนิ้วหรือดีดนิ้วที่มีอาการเป็นนิ้วล็อกเล่น ซึ่งจะอาจทำให้เส้นเอ็นเกิดการอักเสบมากขึ้นได้
2. ถ้ามีอาการข้อฝืดร่วมด้วย คือกำนิ้วไม่ถนัดตอนเช้า ควรแช่มือลงไปในน้ำอุ่นจัดๆ และบริหารโดยการขยับมือกำแบเบาๆ อยู่ในน้ำ จะทำให้นิ้วมือค่อยๆ เคลื่อนไหวได้คล่องขึ้น
3. หากจำเป็นจะต้องกำหรือจับสิ่งของแน่นๆ เช่น ไม้กอล์ฟ ตะหลิวทำอาหาร หรือหิ้วของ ควรหาผ้าหรือฟองน้ำมาพันรอบๆ หรือใช้ถุงมือจับจะช่วยลดแรงกดหรือเสียดสีลง

แต่หากพบว่าเวลางอนิ้วมือแล้วเหยียดขึ้นเองไม่ได้แล้ว ควรจะรีบไปพบแพทย์เพื่อให้การตรวจวินิจฉัยให้แน่ชัด เมื่อพบว่าเป็นโรคนิ้วล็อก ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาจากแพทย์อย่างจริงจังและถูกวิธีจะดีกว่าค่ะ

โรคเก๊าท์ ( Gout )


"โรคเก๊าท์" เป็นโรคที่เกิดจากการที่มีระดับกรดยูริค ซึ่งกรดตัวนี้จะไปตกผลึกอยู่ตามเนื้อเยื่อต่างๆ โดยเฉพาะที่ข้อ บริเวณใกล้ข้อ และที่ไต โรคนี้อาจพบได้บ่อยหากได้รับการรักษาที่ถูกต้องก็จะได้ประโยชน์มาก หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ผู้ป่วยอาจต้องพบกับการพิการทางข้อ หรือไตวายเรื้อรังได้ ส่วนใหญ่มักจะเกิดกับผู้ชายในวัยประมาณ 40 ปี แต่ถ้าเกิดในวัยใดก็ได้ และสำหรับผู้หญิงที่เป็นเก๊าท์ มักจะปรากฏอาการหลังจากเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนแล้ว

สาเหตุของโรคเก๊าท์

จะเกิดจากกระบวนการใช้ และขับถ่ายสารจำพวกพิวรีนของร่างกายผิดปกติไป พิวรีนเป็นธาตุอาหารที่พบได้ในเนื้อสัตว์ ข้าวสาลี เครื่องในสัตว์ (ตับ, เซี่ยงจี้) เป็นต้น ซึ่งจะถูกย่อยจนกลายเป็นกรดยูริค และจะขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะ ซึ่งคนปกติกรดยูริคจะถูกสร้างขึ้นในอัตราพอดีที่ไตจะสามารถขับออกได้หมดทันกับการสร้างขึ้นมาใหม่ให้สมดุลย์ สำหรับบางรายที่กรดยูริคถูกสร้างขึ้น แต่ไตทำหน้าที่ขับถ่ายออกมาได้ช้า หรือเร็วก็ตามจะทำให้กรดยูริคเกิดการสะสมมากขึ้นในร่างกาย เป็นสาเหตุให้เกิดการเจ็บปวดอย่างรุนแรงในข้อกระดูกหรือรอบ ๆ ข้อกระดูก โรคนี้สามารถถ่ายทอดกันได้ทางกรรมพันธุ์

อาการของโรคเก๊าท์
ระยะเริ่มแรก ผู้ป่วยโรคเก๊าท์จะมีข้ออักเสบเฉียบพลันเกิดขี้นเป็นๆ หายๆ เกิดอักเสบขึ้นทีละข้อ โดยจะเริ่มจากข้อที่บริเวณเท้าก่อน จะปวด บวม แดง ร้อนตามข้อ และอาจเจ็บรุนแรงจนถึงกับเดินไม่ได้ก็มี อาการปวดก็จะทิ้งช่วงระยะเวลาเป็นอาทิตย์ เป็นเดือน หรือเป็นปีก็ได้ ซึ่งอาการปวดอาจจะเป็นข้อเดียวหรือหลายข้อพร้อมกันก็ได้ ข้อที่เป็นบ่อย เช่น ข้อเท้า ข้อหัวแม่เท้าหรือหัวข้อเข่า นอกจากอาการปวดตามข้อแล้วอาจมีอาการของนิ่วในทางเดินปัสสาวะได้เช่นกัน

วิธีการรักษาโรคเก๊าท์

โรคนี้หากเป็นแล้วโอกาสที่จะรักษาให้หายขาดได้นั้นมีน้อยมาก โดยต้องได้รับการรักษาไปตลอดชีวิต ทั้งนี้เพราะเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม วิธีที่จะช่วยได้ดีที่สุด คือ พยายามปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ และทานยาตามที่แพทย์สั่ง โดยการรักษาของแพทย์จะแบ่งได้เป็น 2 ระยะ

1. การรักษาในระยะเฉียบพลัน คือ ข้ออักเสบ โดยใช้ยาลดการอักเสบที่นิยมได้แก่ ยา โคลชิซิน (Colchicine) กินวันละไม่เกิน 3 เม็ด (เช่น 1 เม็ดหลังอาหาร 3 มื้อ) จะทำให้ผู้ป่วยหายจากข้ออักเสบในเวลา 1-2 วัน อาจทำให้ข้ออักเสบหายเร็วขึ้น ถ้าใช้ร่วมกับยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ บางครั้งอาจมีผู้แนะนำให้กินยาโคลชิซิน 1 เม็ด ทุกชั่วโมง จนกว่าจะหายปวด หรือจนกว่าจะท้องเสีย ซึ่งไม่แนะนำ เพราะผู้ที่กินยานี้ จะท้องเสียก่อนหายปวดเสมอ

2. การรักษาระยะยาว โดยใช้ยาลดกรดยูริคในเลือด โดยถือหลักการว่า ถ้าเราลดระดับยูริคในเลือดได้ ต่ำกว่า 7 มก./ดล. จะทำให้ยูริคที่สะสมอยู่ละลายออกมา และขับถ่ายออกจนหมดได้ ยาที่นิยมใช้ได้แก่ ยา อัลโลพูรินอล (Allopurinol) ขนาด 100-300 มก. กินวันละครั้ง ซึ่งยานี้ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง กินยาสม่ำเสมอ และกินไปนานอย่างน้อย 3-5 ปี เพื่อกำจัดกรดยูริคให้หมดไปจากร่างกาย การกิน ๆ หยุด ๆ จะทำให้แพ้ยาได้ง่าย ซึ่งเป็นผื่นผิวหนังชนิดรุนแรง

 
Design by Pitchaya.net | Bloggerized by สูตรอาหาร | ขายลำไยอบแห้ง ลองกานอยด์ Health Lover นิ้วล็อค สารสกัดงาดำ เอมมูร่า เซซามิน