คอลลาเจน (Collagen )


คอลลาเจนคือ โปรตีนชนิดหนึ่งเป็นส่วนประกอบหลักๆ ที่อยู่ใต้ชั้นหนังแท้ โปรตีนชนิดนี้มีส่วนประกอบถึง 25% ถึง 35% ของจำนวนหน่วยโปรตีนทั้งหมดในร่างกาย แต่จะมีมากที่สุดที่ผิวหนัง ส่วนที่ปะปนอยู่ในเซลล์กล้ามเนื้อมีแค่ 1-2 % เท่านั้นเอง โดยจะทำหน้าที่ประสานเนื้อเยื่อของผิวหนังเข้าด้วยกัน โปรตีนแห่งความงามนี้ มีชื่อเรียกว่า คอลลาเจนโปรตีน เป็นโปรตีนสำคัญของผิวหนัง เพราะเป็นส่วนสปริงของผิวหนัง ในการสร้างความตึงให้กับผิวหนังชั้นหนังแท้ แต่เมื่ออายุย่างเข้าปีที่ 20 จะเริ่มมีการสูญเสียคอลลาเจน ทุกๆ ปี ปีละ 1% เมื่อขาดคอลลาเจน ผลเสียที่ตามมา คือ ทำให้ผิวเกิดริ้วรอย เหี่ยวย่น หยาบกระด้าง ไม่หยืดหยุ่น เพราะฉะนั้น การเพิ่มคอลลาเจนให้ผิวกายนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก ปัจจุบันนี้จะมีการพูดถึง คอลลาเจน กันอย่างกว้างขวางในวงการแพทย์แห่งความงามและเครื่องสำอาง และ ความงาม
สำหรับคอลลาเจนมีการนำมาใช้งานอย่างกว้างขวางในวงการแพทย์ศัลยกรรมความงาม ศัลยกรรมกระดูก การจัดฟัน และวงการศัลยกรรมทั่วไป เป็นส่วนประกอบของผิวหนังสังเคราะห์ที่ใช้ในผู้ป่วยที่สูญเสียผิวหนังเนื่อง จากอุบัติเหตุไฟไหม้ ซึ่งใช้คอลลาเจนสังเคราะห์จากผิวหนังของลูกวัว(Bovine), หรือจากหมู (Equine, Porcine) บางครั้งจะใช้ผิวหนังจากผู้บริจาค หรือใช้ซิลิโคนสังเคราะห์แทน
เนื่องจากคอลลาเจนเมื่อรับประทานเข้าไปจะย่อยสลายเป็นโปรตีนและกรดอะมิโนใน จึงไปช่วยในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ดังนั้นปัจจุบันนี้จึงได้มีการคิดค้น นำสารสกัดโปรตีนจากปลาทะเลบางประเภท ซึ่งมีโครงสร้างโมเลกุลคล้ายกับโครงสร้างของคอลลาเจนของผิวคน โดยวิธีการ (Enzymatic Hydrolysis) มาทำเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แล้วพบว่าภายหลังการรับประทานไประยะหนึ่ง จะสามารถช่วยเสริมสร้างคอลลาเจน และช่วยให้ริ้วรอยต่าง ๆ จางหายไป
วิธีการนำคอลลาเจนเข้าสู่ร่างกาย
วิธีการนำสารสกัดโปรตีนคอลลาเจน เข้าสู่ร่างกายเพื่อหวังผลในการบำรุงผิว และลดริ้วรอยนั้น ปกติจะทำได้อยู่ 2 วิธีคือ โดยการรับประทานในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือ โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังชั้นหนังแท้ซึ่งต้องจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ส่วนวิธีการรับประทานจึงเป็นวิธีการที่สะดวกกว่า ผลที่ได้รับจากการบริโภคคอลลาเจนอย่างต่อเนื่อง จะช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อคอลลาเจนใต้ผิวหนัง ลดริ้วรอยเหี่ยวย่นของผิวหนังอย่างได้ผล และทำให้ผิวมีความชุ่มชื้น นุ่มเนียนขึ้น
ประสิทธิผลของการใช้คอลลาเจนระยะเวลาที่จะเห็นผลตั้งแต่ 30 - 60 วัน
- ริ้วรอยตื้นขึ้น 50%
- ผิวที่หย่อนยานกระชับขึ้น 60%
- ผิวชุ่มชื้นมากขึ้น 45%
- จะพบว่าในส่วนของผม, เล็บ จะแข็งแรง และ หนาขึ้น

หมายเหตุ ทุกสิ่งทุกอย่างถึงแม้จะมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ถ้าไม่รู้จักศึกษาให้ถ่องแท้ก่อนนำมาใช้หรือว่าไม่ได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจริงๆ อาจะเป็นโทษต่อร่างกายได้

การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน

หลายคนคิดว่าไม่มีความจำเป็น ในเมื่อเรารักกัน เรารู้จักกันดีแล้ว ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน บางคนก็กลัวแฟนจะเข้าใจผิดว่าไม่ไว้ใจเค้า แต่ในความเป็นจริงแล้วเป็นการตรวจสุขภาพ เพื่อเช็คสภาพความพร้อมและความสมบูรณ์ของร่างกาย เนื่องจากคนที่จะแต่งงานส่วนใหญ่มักจะอยู่ในวัยเจริญพันธ์ เป็นช่วงที่สุขภาพค่อนข้างดี ถึงแม้จะมีโรคประจำตัวแต่ก็มักไม่มีอาการ แต่ในอนาคตอาจเป็นพาหะนำโรคไปสู่คู่สมรสหรือว่าลูกน้อยที่เกิดขึ้นมาในอนาคตด้วย ฉะนั้นเหตุผลที่เราจะต้องตรวจสุขภาพก็คือ

1. เพื่อสกัดกั้นการส่งผ่านโรคสู่คนที่เรารัก
2. เพื่อตรวจความพร้อมของคุณแม่มือใหม่
3. เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย
4. เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง

การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน เค้าตรวจอะไรกันบ้าง
1. ตรวจร่างกายทั่วไปโดยละเอียด เช่น เช็คความดันโลหิต , วัณโรค , โลหิตจาง
2. ตรวจดูระดับความสมบรูณ์ของเม็ดเลือด เนื่องจากโรคเกี่ยวกับเลือดสามารถติดต่อทางพันธุกรรม ไปสู่ลูกได้ เช่น
- โรคธาลัสซีเมีย เป็นโรคเลือดที่มีความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ คือ ร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงผิดปกติ ส่งผลให้ลูกมีการเจริญเติบโตช้า ไม่สมอายุ เด็กบางคน ตับ ม้ามโต ตัวซีดเหลือง หากมีอาการรุนแรง มีอันตรายถึงชึวิตได้
- โรคฮีโมฟีเลีย เป็นความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ มีอาการเลือดออกง่าย และหยุดยาก
- โรคพร่องเอนไซม์ G-6-PD เป็นโรคที่ติดตัวตลอดชีวิต หากเม็ดเลือดแดงเอนไซด์แตก ลูกจะตัวซีดเหลือง มีอาการเหมือนดีซ่าน ถ้าเม็ดเลือดแตกมาก ก็อาจช็อกได้
3. ตรวจกรุ๊ปเลือด เพื่อสะดวกในกรณีที่ต้องการเลือดฉุกเฉิน
4. ตรวจหาเชื้อเอดส์ เป็นโรคที่ติดต่อกันทางเพศสัมพันธ์ ทางเลือด และสามารถติดต่อจากแม่ไปสู่ลูกได้ เป็นโรคที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายได้
5. ตรวจหาเชื้อซิฟิลิส เป็นโรคที่ติดทางเพศสัมพันธ์ และอาจเกิดกับทารกที่มีมารดาเป็นซิฟิลิส
6. ตรวจหาเชื้อและหาภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบบี เป็นโรคที่สามารถติดต่อไปยังลูก และคู่สมรส ซึ่งมีโอกาสสูงที่จะกลายเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งตับ และโรคตับแข็ง เราสามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนคุ้มกัน ดังนั้นก่อนที่เราจะฉีดวัคซีน ทางโรงพยาบาลจะขอตรวจเลือดเพื่อเช็คว่าเรามีภูมิคุ้มกันแล้วหรือยัง
7. ตรวจหาภูมิคุ้มกันเชื้อหัดเยอรมัน เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ผู้ป่วยจะมีไข้ ข้ออักเสบ ต่อมน้ำ-เหลืองโต เป็นผื่นตามตัว และเป็นโรคที่สามารถติดต่อไปยังลูกและคู่สมรสได้ ถ้าโรคนี้เป็นในผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ อาจทำให้ทารกที่อยู่ในครรภ์พิการ คุณหมอจึงแนะนำให้ว่าที่คุณแม่ทุกคนฉีดวัคซีนป้องกันหัดเยอรมัน ก่อนที่จะมีการตั้งครรภ์ 2 เดือน ซึ่งก่อนที่จะฉีด คุณหมอต้องเช็คให้แน่ใจก่อนว่า ไม่ได้ตั้งครรภ์

โปรแกรมตรวจสุขภาพที่แต่ละโรงพยาบาลกำหนดไว้สำหรับคู่แต่งงาน
1. ตรวจร่างกายโดยแพทย์
2. ตรวจวัดความดันโลหิต / วัดชีพจร / ชั่งน้ำหนัก / วัดส่วนสูง Body Weight & Height>
3. ตรวจหาหมู่เลือด
4. ตรวจชนิดของกลุ่มเลือด
5. ตรวจนับปริมาณ และ ชนิดของเม็ดเลือด
6. ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
7. ตรวจกามโรค หรือ ซิฟิลิส
8. ตรวจหาเชื้อไวรัสเอดส์
9. ตรวจปัสสาวะอย่างสมบูรณ์
10. ตรวจหาความผิดปกติทางพันธุกรรมของเม็ดเลือดแดง
11. ตรวจหาภูมิคุ้มกันหัดเยอรมัน สำหรับเจ้าสาวเท่านั้น



ทำอย่างไรเพื่อลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็ง

มะเร็ง(cancer) คือ กลุ่มของโรคที่เกิดเนื่องจากเซลล์ของร่างกายมีความผิดปกติ ที่ DNA หรือสารพันธุกรรม ส่งผลให้เซลล์มีการเจริญเติบโต มีการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ รวดเร็ว และมากกว่าปกติ ดังนั้น จึงอาจทำให้เกิดก้อนเนื้อผิดปกติ และในที่สุดก็จะ ทำให้เกิดการตายของเซลล์ในก้อนเนื้อนั้น เนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยง เพราะการ เจริญเติบโตของหลอดเลือด ถ้าเซลล์พวกนี้เกิดอยู่ในอวัยวะใดก็จะ เรียกชื่อ มะเร็ง ตามอวัยวะนั้นเช่น มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็ง เม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น

วิธีปฏิบัติตนเพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง
- ไม่สูบบุหรี่ เลิกเคี้ยวหมาก ไม่ดื่มสุรามากจนเกินไป
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเพิ่มอาหารที่มีปริมาณกากใยสูง
เช่นผัก ผลไม้ ธัญพืชเป็นต้น
- หลีกเลี่ยงจากสารก่อมะเร็ง เช่น สารเคมีต่างๆ การสูดดมควันบุหรี่
หรือควันจากท่อไอเสีย หรือน้ำมันเบนซิน อาหารใส่ดินประสิว อาหารรมควัน
อาหารที่ไหม้เกรียมจากการปิ้ง ย่าง ทอด และไม่รับประทาน อาหารที่มีเชื้อราขึ้น เป็นต้น
- ลดอาหารไขมันสัตว์ และเนื้อสัตว์สีแดง
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่ร้อนจัด
- ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบชนิดบีในเด็กแรกเกิด
- องกันการติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ โดยเลิกรับประทานปลาน้ำจืดดิบ ๆ ที่มีเกล็ด
- หลีกเลี่ยงการได้รับแสงแดดจัด ๆ เป็นเวลานาน
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ตรวจสุขภาพประจำปี และตรวจหามะเร็งระยะเริ่มแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็ง
ที่สามารถตรวจพบได้ในระยะแรก คือ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม
มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง มะเร็งต่อมลูกหมาก
- ปรึกษาแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติ

เคล็ดลับนอนหลับให้สบาย


การนอนไม่หลับนับเป็นอาการยอดฮิตของหลายๆ คน ที่ส่วนมากมักเกิดจากความเครียด โดยเฉพาะวัยเรียนและวัยทำงาน ที่กังวลเกี่ยวกับงานและเรื่องต่างๆ มากเกินไป จนกลายเป็นความ เครียด สุดท้ายพอถึงเวลาเข้านอน ก็คิดมากฟุ้งซ่าน พยายามข่มตานอนให้หลับยังไงก็นอนไม่หลับ ถึงแม้จะหลับก็หลับไม่สนิท มักจะตื่นเป็นระยะๆ บ่อยครั้งตื่นขึ้นมาในตอนเช้าด้วยความงัวเงียไม่กระปรี้กระเปร่า ทำให้เสียประสิทธิภาพในการเรียนหรือว่าการทำงานของวันนั้นๆ ถ้าปล่อยให้เป็นบ่อยๆ ขึ้นก็จะส่งผลเสียต่อสุขภาพด้วย ถ้าใครไม่อยากเป็นแบบนี้ลองอ่านเกร็ดความรู้นี้รับรองนอนหลับสบายแน่นอน

1.ตื่นและนอนให้เป็นเวลา โดยใน 1 วัน ควรนอนให้ได้ 8 ชั่วโมง และทำให้เป็นประจำทุกวัน

2.ฝึกนั่งสมาธิก่อนนอน เพื่อไม่ให้จิตใจฟุ้งซ่าน

3.วางแผนงานที่จะสะสางในวันพรุ่งนี้ให้เป็นระบบ เพื่อลดการคิดซ้ำซาก

4.อย่ากังวลกับงานจนเกินไป เมื่อถึงเวลานอนก็ควรนอนให้หลับสนิท เพื่อพักสมอง และเตรียมลุยงานในวันพรุ่งนี้ ซึ่งจะเป็นผลดีกับประสิทธิภาพของงาน

5.หากลิ่นหอมอ่อนๆ จากน้ำมันหอมระเหยวางในห้อง จะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายและหลับง่ายขึ้น

6.ดื่มนมอุ่นๆ ก่อนนอน จะช่วยคลายเครียด ผ่อนคลายประสาท

7.หลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟ น้ำอัดลม ช็อกโกแลต เนื่องจากมีคาเฟอีนกระตุ้นทำให้นอนไม่หลับ

8.เปิดเพลงเบาๆ ฟังสบายๆ จะให้ความรู้สึกสงบ

วิธีการถนอมดวงตา


ดวงตาเป็น อวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายที่มีความสำคัญมาก ถึงแม้ตอนนี้จะไม่มีอาการสายตาสั้น พออายุมากขึ้นเราก็ไม่อาจที่จะหลีกเลี่ยงการเป็นโรคสายตายาวได้ ในเมื่อตอนนี้เรายืนยันว่าเราจะไม่มีปัญเหล่านั้นก็จริง หากไม่รู้จักดูแลรักษา ก็อาจทำให้เกิดปัญหาในการมองเห็นได้ ถ้าอยากให้ดวงตาของเราใช้งานไปได้นาน ๆ ควรหลีกเลี่ยงการใช้สายตานาน ๆ เช่น นั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือเพ่งอะไรนาน ๆ แสงไม่เพียงพอ และไม่ควรเอามือจับหรือสัมผัสดวงตาในขณะที่ยังไม่ล้างมือ เพราะมือไม่สะอาดอาจมีเชื้อโรค นอกจากนี้ในกรณีที่อยู่ในที่กลางแจ้ง แดดจัด หรือ ลมแรง ควรสวมแว่นตากันแดด เพื่อช่วยป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับดวงตา
นอกจากนี้ การถนอมดวงตาของตนเอง ยังสามารถทำได้ด้วยวิธีง่ายๆ ดังนี้

1. ครอบดวงตา ด้วยการโค้งอุ้งมือทั้งสองครอบดวงตาไว้เฉย ๆ นึกถึงบรรยากาศที่ผ่อนคลาย อยู่ในท่านี้สักประมาณ 10นาที
2. สร้างจินตภาพว่าตนเองกำลังมองวัตถุบางอย่างที่มีสีสันสดใส มีรายละเอียดต่าง ๆ ชัดเจน สายตาที่คมชัดจากจินตนาการของเราเองจะช่วยเยียวยาสายตาจริง ๆ ของเราได้เป็นอย่างดี
3. กวาดสายตา มองแบบไม่ต้องจ้อง กวาดสายตาไปตามวัตถุที่อยู่ไกล ๆ เพื่อทำให้ตาของเราได้ผ่อนคลาย
4. กะพริบตา กะพริบตา 1-2 ครั้ง ทุก 10 วินาที จะช่วยให้แก้วตาสะอาดและมีน้ำเหลืองหล่อเลี้ยง
5. โฟกัสภาพที่ใกล้และไกล เหยียดแขนซ้ายไปให้ไกลที่สุด ตั้งนิ้วชี้มือซ้ายขึ้นเพื่อเป็นจุดโฟกัส ขณะเดียวกันตั้งนิ้วชี้มือขวา ให้ห่างจากใบหน้า สัก 3 นิ้ว โฟกัสภาพที่แต่ละนิ้วสลับกันไปมา
6. ชะโลมดวงตา หลังตื่นนอนทุกเช้าให้ใช้มือวักน้ำชโลมดวงตาด้วยน้ำอุ่น 20 ครั้ง สลับกับการวักน้ำเย็นชโลมดวงตาอีก 20 ครั้ง เพื่อช่วยให้เลือดหมุนเวียนมาเลี้ยงดวงตาดี
7. แกว่งตัว ยืนแยกเท้าเท่ากับช่วงไหล่ แกว่งตัวไปมาจากซ้ายไปขวา ถ่ายน้ำหนักตัวบนขาแต่ละข้างสลับไปมา สายตามองไปไกลๆ แต่ไม่ต้องจ้อง ปล่อยให้จุดที่เรามอง แกว่งไปมาซ้ายขวาตามการแกว่งตัว ท่านี้จะทำให้ดวงตาได้พัก และมีการปรับตัวดีขึ้น

เมื่อดวงตาเป็นอวัยวะที่สำคัญในร่างกายของคนเรามาก คงไม่มีใครต้องการที่จะอยากอยู่ในโลกมืดและไม่สามารถมองเห็นสิ่งที่เป็นไปรอบๆตัวเรา ดังนั้น ก่อนเราจะตัดสินใจทำอะไรที่เกี่ยวข้องกับดวงตา ควรจะปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อน นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่สุด คือ หมั่นดูแลใส่ใจสุขภาพตาของเรา


ไซนัส (Sinus)


ใกล้เข้าหน้าหนาวแล้วหลายคนเริ่มเป็นหวัดแล้ว ถ้าเป็นนิดๆ หน่อยๆ อาการไม่รุนแรงมากก็รีบหายามากินเลย อย่าปล่อยให้เป็นนาน แต่ถ้าใครยังไม่เป็นก็จงดูแลสุขภาพตัวเองให้แข็งแรงอยู่ตลอดเวลา เพราะถ้าร่างกายอ่อนแอ โรคร้ายก็จะถามหา ส่วนใครที่เป็นหวัดอยู่แล้วถ้าเป็นเกิน 3 วัน คงต้องรีบไปหาหมอโดยด่วน อย่าปล่อยให้เป็นเรื้อรังนานๆ อาจจะทำให้เกิดอาการไซนัสอักเสบตามมาอีก บทความนี้เลยมีเรื่องไซนัสมาให้ทุกท่านๆ ได้รู้จัก สำหรับคนที่เป็นอยู่แล้วก็จะได้รู้วิธีดูกแลรักษา


ไซนัส หมายถึง โพรงอากาศที่อยู่รอบๆ โพรงจมูกทั้งซ้ายและขวา โดยปกติคนเรามีโพรงไซนัสทั้งหมด 4 แห่ง คือ บริเวณระหว่างตาทั้งสองข้าง บริเวณแก้ม บริเวณหน้าผาก และบริเวณในสุดของรูจมูก และที่ใต้ฐานกะโหลก โพรงอากาศนี้เป็นที่โล่งๆ ในกะโหลกศีรษะ แต่ละโพรงอากาศจะมีรูระบายอากาศตามธรรมชาติโพรงละหนึ่งรู ซึ่งจะระบายเข้าสู่โพรงจมูก
- คัดจมูก น้ำมูกข้นเขียวหรือเหลือง
- หายใจมีกลิ่นเหม็น บางครั้งการรับรู้กลิ่นจะสูญเสียไป
- ปวดศีรษะ ปวดขมับ ปวดแก้ม ปวดท้ายทอย หนักหัว ปวดบริเวณรอบๆ จมูก เบ้าตาหรือหัวคิ้วหน้าผาก ในเด็กบางคนอาจจะบ่นว่ามีอาการปวดศีรษะโดยเฉพาะเวลาเช้า
- เสมหะข้นไหลลงคอ ไอบ่อย โดยเฉพาะเวลากลางคืน
- เลือดออกทางจมูก (พบในบางราย)
- รายที่เป็นรุนแรงอาจมีไข้สูง ตาบวมอักเสบได้ เป็นต้น

วิธีการรักษาไซนัสอักเสบ
ในระยะเริ่มต้น ไซนัสอักเสบสามารถรักษาทางยาได้ ที่สำคัญต้องควบคุมหรือแก้ไขสาเหตุบางอย่าง (Predisposing factor) เพื่อป้องกันการเกิดโรคซ้ำ (Recurrence) ได้แก่
- ควบคุมและรักษาโรคภูมิแพ้ทางจมูก (ปรึกษาแพทย์)
- ผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติของช่องจมูก เช่น ผนังกั้นช่องจมูกคด
สำหรับไซนัสอักเสบเรื้อรัง การรักษาทางยาอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ บางครั้งจำเป็นต้องทำการผ่าตัดไซนัสร่วมด้วย ได้แก่
- การเจาะล้างไซนัส : ในรายที่มีน้ำมูก หรือหนองคั่งอยู่ในไซนัส
- การผ่าตัดขยายรูเปิดของไซนัส
- การผ่าตัดริดสีดวงจมูก

ข้อแนะนำสำหรับการดูแลตนเอง
- พักผ่อนเพียงพอ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่หักโหม
- หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำเมื่อมีอาการคล้ายหวัดกำเริบ
- หลีกเลี่ยงภาวะอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงฉับพลัน
- ถ้ามีอาการมากขึ้น ควรรีบพบแพทย์ รับประทานยา และติดตามการรักษาสม่ำเสมอ

นิ้วล็อค (Trigger Finger)


เป็นกลุ่มอาการอักเสบของเอ็นนิ้วมือที่พบบ่อยในวัยกลางคน น่าแปลกที่เราพบโรคนี้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย พบมากในคนที่ทำงานใช้มือมากๆ มีการกำมือ งอนิ้วบ่อยๆ เช่น คนที่ทำงานทอผ้า คนที่นั่งพิมพ์ดีด คนที่ใช้คอมพิวเตอร์วันละหลายชั่วโมง หรือคุณแม่บ้านที่ไปจ่ายตลาดแล้วใช้นิ้วหิ้วถุงพลาสติกใส่ของหนักๆ หลายๆ ถุง เป็นเวลานานๆ นอกจากนี้ยังพบในคนที่มือเกิดอุบัติเหตุบ่อยๆ และพบร่วมกับผู้ป่วยโรคข้ออับเสบชนิดรูมาตอยด์ พบในผู้ป่วยเบาหวานได้มากกว่ากลุ่มอื่น นิ้วล็อคมักจะเป็นกับนิ้วกลางและนิ้วนางมากกว่านิ้วชี้และนิ้วก้อย


อาการของนิ้วล็อคคือ เวลากำมือแล้วเวลาที่แบมือออก จะเหยียดนี้วกลางหรือนิ้วนางไม่ได้ กว่าจะเหยียดออกได้ต้องใช้เวลาและติดขัด ซึ่งไม่ใช่อาการอันตราย แต่สร้างความรำคาญให้กับผู้ที่เป็นโรคนี้ การใช้มืออาจไม่สะดวกเหมือนปกติ บางคนรู้สึกอาย หรือบางคนอาจกังวลว่าเป็นโรคข้อหรือว่ามีข้อเคลื่อนหรือเปล่า ที่จริงแล้วไม่ใช่นะครับ แต่เกิดจากเอ็นนิ้วมือบวมอักเสบ

การรักษานิ้วล็อคมีหลายวิธี ได้แก่
1. การใช้ความร้อนประคบ วิธีนี้ใช้ช่วยเหลือบรรเทาอาการทำให้นิ้วที่ล็อค สามารถเหยียดออกได้ง่ายขึ้น แต่วิธีนี้ไม่ใช่การรักษาให้หายขาดครับ เพียงแต่เป็นการช่วยปฐมพยาบาลขั้นต้นเท่านั้น
2. การรับประทานยาแก้อักเสบของกล้ามเนื้อ การรับประทานยาจะช่วยลดอาการอักเสบของเอ็นนิ้วมือ มักจะได้ผลดีในกรณีที่อาการนิ้วล็อคเพิ่งเป็น ไม่เกิน 2-3 สัปดาห์ หากเป็นนานหรือว่าเป็นๆ หายๆ เรื้อรัง การรักษาด้วยวิธีนี้อาจไม่ได้ผล
3. การฉีดยาเข้าในเอ็นข้อนิ้วที่อักเสบ เป็นการฉีดยาลดอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ และเอ็นเข้าไปโดยตรง (ภาพที่ 1) วิธีนี้มักจะได้ผลดี เนื่องจากยาจะเข้าไปรักษาบริเวณที่อักเสบโดยตรง แต่ผู้ป่วยมักไม่ชอบเพราะเจ็บ
4. ในกรณีที่เป็นซ้ำๆหลายครั้ง การกินยา ฉีดยาอาจไม่ได้ผล อาจจำเป็นต้องผ่าตัด เพื่อแก้ไขเอ็นนิ้วมือส่วนที่มีการอักเสบครับ การผ่าตัดนิ้วล็อค เป็นการผ่าตัดเล็ก ใช้เวลาทำไม่นาน ผู้ป่วยไม่ต้องค้างโรงพยาบาลครับ ฉีดยาชาทำเสร็จสามารถกลับบ้านได้เลย

ซีสต์ (Cyst)


ซีสต์ แทบจะถือว่าเป็นโรคท๊อปฮิตของสาวๆ เลย ยิ่งดาราสาวบ้านเมืองเรา เดี๋ยวคนนั้นก็เป็นเดี๋ยวคนนี้ก็เป็น ถึงจะดูไม่ร้ายแรงอะไร แต่มาลองทำความรู้จักกันหน่อยจะดีกว่า คำว่าซีสต์ (Cyst) แปลว่า ถุงน้ำ ซึ่งผู้หญิงทุกคนที่มีประจำเดือนจะต้องมีซีสต์ที่ว่านี้ มันคือถุงน้ำที่จะคอยสร้างฮอร์โมน หลังจากที่ไข่แต่ละใบที่ถูกเลือกในทุกๆ เดือนมีการตกไข่หรือเรียกว่าช่วงมีประจำเดือนนั่นเอง เมื่อประจำเดือนหมด ถุงน้ำหรือซีสต์นั้นก็จะยุบและสลายไปเอง ซึ่งซีสต์ที่เรียกว่าซีสต์ที่เป็นปกติ


ส่วนซีสต์ที่ไม่ปกติก็คือ ซีสต์ที่ต้องกำจัดออก เพราะมันจะไม่ยุบตามรอบประจำเดือนเหมือนซีสต์ปิติที่มีทุกเดือน ซีสต์ไม่ปกติเกิดขึ้นได้ทั้งที่ปากมดลูกและรังไข่ แต่เราจะพูดถึงเฉพาะซีสต์ที่เกิดขึ้นในรังไข่ เพราะซีสต์ที่เกิดที่มากมดลูกนั้น ถือเป็นซีสต์ที่ไม่สำคัญไม่เป็นมะเร็ง ซีสต์ที่ไม่ปกติที่รังไข่นั้นก็มีทั้งที่เป็นมะเร็งและไม่เป็นมะเร็งและมีซีสต์หลายประเภทมากๆ แต่ที่เป็นกันมากคือ เดอมอยซีสต์ และช็อคโกแลตซีสต์ เป็นซีสต์ขนาดเล็กที่ไม่พัฒนาเป็นมะเร็ง ส่วนซีสที่จะพัฒนาเป็นมะเร็ง จะก้อนใหญ่มากๆ ในบางรายอาจใหญ่ได้เท่าคนท้อง 5 เดือน

ซีสต์ เชื่อกันว่าเกิดจากพฤติกรรมการกินการใช้ชีวิตหรือการมีเพศสัมพันธ์ แต่ความจริงแล้ว ซีสต์ไม่มีสาเหตุ ไม่ได้เกิดจากสาเหตุใดทั้งสิ้น ซีสต์นั้นเกิดขึ้นได้เองและป้องกันไม่ได้ด้วย และมีเปอร์เซ็นต์น้อยมากๆ ที่เกิดจากพันธุกรรม ซีสต์บางประเภทเท่านั้นที่จะเกิดจากพันธุกรรม

ส่วนใหญ่เราจะไม่ค่อยรู้ว่าเราเป็นซีสต์หรือไม่เป็น นอกจากจะบังเอิญตรวจเจอ แต่ก็มีบ้างที่มีอาการท้องอืด พุงป่อง แต่นี่คือกรณีที่ซีสต์มีขนาดใหญ่มากแล้ว และเป็นซีสที่อาจเป็นมะเร็ง เพราะจะเติบโตได้เร็วกว่าซีสต์ที่ไม่เป็นมะเร็ง ฉะนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่คุณผู้หญิงทุกคนจึงควรจะตรวจสุขภาพเสมอๆ เพื่อจะได้ตรวจเช็คด้วยว่ามีซีสต์หรือเปล่า และรีบรักษาได้เร็วที่สุด

วิธีการรักษาซีสต์ ก็เริ่มจากเมื่อเราตรวจเจอและแน่ใจว่าเป็นซีสต์ที่ไม่ปกติอยู่ ก็ต้องดูอีกทีว่าเป็นซีสประเภทไหนกันแน่ เป็นมะเร็งหรือไม่เป็นมะเร็ง ถ้าเป็นมะเร็ง ก็เป็นการรักษาในรูปแบบของมะเร็ง แต่ถ้าไม่เป็นมะเร็ง ก็จะรักษาโดยการผ่าตัดออก ซึ่งเป็นวิธีเดียวเท่านั้น บางคนจะเข้าใจว่ามีการกินยาเพื่อรักษาหรือสลายซีสต์ออก ซึ่งถือว่าเป็นความเข้าใจที่ผิด มีวิธีรักษาอย่างเดียวเท่านั้นคือกำจัดมันออกไป เพียงแต่ การผ่าตัดนี้สามารถทำได้ 2 แบบคือ ผ่าแบบส่องกล้อง กับผ่าแบบเปิดหน้าท้อง ซึ่งก็แล้วแต่ความต้องการของคนไข้และความถนัดของแพทย์

โรคซึมเศร้า (Depression)


โรคซึมเศร้าอาจจะ เกิดในคนที่มีการสูญเสีย หรือโรคซึมเศร้าอาจจะเกิดในคนที่มีโรคประจำตัวหรือเกิดในคนปกติทั่วๆไป โรคซึมเศร้าจะทำให้การดำรงชีวิตเปลี่ยนแปลงและเกิดความเจ็บปวดทั้งผู้ป่วย และผู้ดูแล บางครั้งอาจจะทำให้ครอบครัวเกิดการแตกแยกหรือครอบครัวต้องสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักไป ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่ทราบว่าตัวเองเป็นโรคซึมเศร้า เลยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ทั้งที่ปัจจุบันมียาและวิธีการรักษาที่ได้ผลดี ฉะนั้นบทความนี้จะเป็นแนวทางในการวินิจฉัยให้กับบุคคลในครอบครัวหรือผู้ใกล้ชิด หากพบว่าคนใกล้ชิดมีอาการเหมือนกับโรคซึมเศร้าดังดังต่อไปนี้รีบแนะนำให้เขาไปพบจิตแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัยโดยด่วน ถ้าหากไม่ใช่ก็ถือว่าโชคดีไป แต่ถ้าใช่จะได้รีบทำการรักษาอย่างทันท่วงที

โรคซึมเศร้าคืออะไร
โรคซึมเศร้าเป็นการเจ็บป่วยทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจและด้านความคิด ซึ่งผลของโรคจะไปกระทบต่อชีวิตประจำวันเช่น การรับประทานอาหาร การหลับนอน ความรับรู้ตัวเอง ผู้ป่วยไม่สามารถประสานความคิด ความรู้สึกของตัวเพื่อแก้ปัญหา หากไม่ได้รับรักษาอาการอาจจะอยู่เป็นเดือน แล้วจะเริ่มมีอาการที่รุนแรงขึ้น

โรคซึมเศร้ามีกี่ชนิด
1. โรคซึมเศร้าแบบเมเจอร์ ดีเพรสชั่น (Major depression) ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าชนิดนี้จะมีความผิดปกติที่มีอารมณ์ซึมเศร้านานกว่า 2 สัปดาห์ ผู้ที่ป่วยจะมีอาการเศร้าสลดอย่างมากจนไม่มีความสนใจในกิจกรรมต่างๆที่จะช่วยทำให้กลับมามีความสุขสดชื่นเหมือนเดิม ดังนั้นควรเริ่มรักษาแต่เนิ่นๆ จะช่วยไม่ให้โรคซึมเศร้าแบบนี้ มีความรุนแรงขึ้น อีกทั้งยังลดความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายอีกด้วย
2. โรคซึมเศร้าแบบดิสทีเมีย (Dysthymia) ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าชนิดนี้จะมีอาการรุนแรงน้อยกว่าชนิดแรก แต่เป็นอย่าง ต่อเนื่องนานกว่า นั่นคือจะมีอาการอย่างน้อย 2 ปีแต่มักจะนานกว่า 5 ปี อาการไม่รุนแรงถึงขนาดทำอะไรไม่ได้ เนื่องจากผู้ที่ป่วยจะมีอารมณ์ปกติสลับไปด้วย
3. โรคซึมเศร้าแบบไบโพลาร์ ดิสออร์เดอร์ (Bipolar disorder) ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ชนิดนี้บางรายจะมีอารมณ์เซ็ง ซึมเศร้า สลับกับอาการลิงโลด โดยเป็นอารมณ์ที่ต่างกันหรือ ต่างขั้วกัน โรคซึมเศร้าชนิดนี้จะมีผลต่อการ ตัดสินใจและมักก่อให้เกิดปัญหา เช่น การ ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย หรือตัดสินใจผิดๆ และอาจมีความคิดฆ่าตัวตายในช่วงที่มีอาการซึมเศร้าได้

อาการโรคซึมเศร้า depression
1. การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ได้แก่
- รู้สึกซึมเศร้า กังวล อยู่ตลอดเวลา
- หงุดหงิดฉุนเฉียว โกรธง่าย
- อยู่ไม่สุข กระวนกระวาย
2. การเปลี่ยนแปลงทางความคิด
- รู้สึกสิ้นหวัง มองโลกในแง่ร้าย
- รู้สึกผิด รู้สึกตัวเองไร้ค่า ไม่มีทางเยียวยา
- มีความคิดจะทำร้ายตัวเอง คิดถึงความตาย พยายามทำร้ายตัวเอง
3. การเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้หรือการทำงาน
- ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ความสนุก งานอดิเรก หรือกิจกรรมที่เพิ่มความสนุกรวมทั้งกิจกรรมทางเพศ
- รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีพลังงาน การทำงานช้าลง การงานแย่ลง
- ไม่มีสมาธิ ความจำเสื่อม การตัดสินใจแย่ลง
4. การเปลี่ยนปลงทางพฤติกรรม
- นอนไม่หลับ ตื่นเร็ว หรือบางรายหลับมากเกินไป
- บางคนเบื่ออาหารทำให้น้ำหนักลด บางคนรับประทานอาหารมากทำให้น้ำหนักเพิ่ม
- มีอาการทางกายรักษาด้วยยาธรรมดาไม่หายเช่น อาการปวดศีรษะ แน่นท้อง ปวดเรื้อรัง
- ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นแย่ลง

อาการ Mania
- มีอาการร่าเริงเกินเหตุ
- หงุดหงิดง่าย
- นอนน้อยลง
- หลงผิดคิดว่าตัวเองเก่ง ตัวเองใหญ่
- พูดมาก
- มีความคิดชอบแข่งขัน
- ความต้องการทางเพศเพิ่ม
- มีพลังงานมาก
- ตัดสินใจไม่ดี
- มีพฤติกรรมเปลี่ยนไป

สาเหตุของโรคซึมเศร้า
1. พันธุ์กรรม พบว่าโรคซึมเศร้าชนิด bipolar disorder มักจะเป็นในครอบครัวและต้องมีสิ่งที่กระตุ้น เช่นความเครียด
2. มีการเปลี่ยนแปลงการทำงานของสมองหรือสารเคมีในสมองการเปลี่ยนแปลงของสมดุลของสารเคมี ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทในสมอง มีผลต่ออารมณ์ซึมเศร้าของคน (โดยเฉพาะสารสีโรโทนิน นอร์เอปิเนพริม และโดปามีน)
3. ผู้ที่มองโลกในแง่ร้าย ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง
4. โรคทางกายก็สามารถทำให้เกิดโรคซึมเศร้า เช่นโรคหัวใจ อัมพาต ทำให้ผู้ป่วยมาสนใจดูแลตัวเองโรคจะหายช้า
5. มีการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในเลือด เช่นวัยทอง หรือหลังคลอดก็สามารถทำให้เกิดอาการซึมเศร้า
6. ความเครียดที่เกิดจากสาเหตุต่างเช่น การสูญเสีย การเงิน การงาน ปัญหาในครอบครัวก็สามารถเป็นเหตุให้เกิดโรงซึมเศร้า
7. ผู้ที่เก็บกดไม่สามารถแสดงอารมณ์ออมา เช่นดีใจ เสียใจหรืออารมณ์โกรธ
8. ผู้ที่ด้อยทักษะต้องพึ่งพาผู้อื่น

วิธีบำบัดและรักษาโรคซึมเศร้า
1. ระยะเฉียบพลัน จะใช้ยาบรรเทาอาการเศร้าจนรู้สึกดีขึ้น และทานยาต่อไปอีก 6-12 เดือน เพื่อป้องกันอาการกลับมาเป็นซ้ำอีก ดังนั้นแม้จะ รู้สึกสบายดีก็ยังต้องกินยาตามแพทย์สั่งอย่าง ต่อเนื่อง
2. เนื่องจากผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามักจะกลับมาป่วยซ้ำหรืออาจมีอาการกำเริบซ้ำ จึง ถือว่าโรคซึมเศร้าเป็นโรคเรื้อรังจำเป็นต้องได้รับยาระยะยาว

โรคซึมเศร้าในผู้หญิง
ผู้หญิงจะเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าผู้ชาย 2 เท่าเชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเช่น การมีประจำเดือน การตั้งครรภ์ การแท้ง ภาวะหลังคลอด วัยทอง เป็นต้น นอกจากนั้นยังอาจจะเกิดจากความเครียดที่ต้องรับผิดชอบทั้งในบ้านและงานนอกบ้าน การรักษาให้ญาติเข้าใจภาวะของผู้ป่วยและให้กำลังใจแก่ผู้ป่วย

โรคซึมเศร้าในผู้ชาย
แม้ว่าโรคซึมเศร้าในผู้ชายจะพบน้อยกว่าผู้หญิงแต่อัตราการฆ่าตัวตายจะสูงกว่าผู้หญิง โรคซึมเศร้าในผู้ชายจะเกิดโรคทางกายพบว่าอัตราการเกิดโรคหัวใจจะสูงมาก ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้ามักจะใช้ยาเสพติดและสุราเป็นตัวแก้ไข บางคนก็มุ่งทำงานหนัก ผู้ป่วยจะไม่มีความรู้สึกสิ้นหวังหรือท้อแท้แต่จะหงุดหงิดง่าย โกรธง่าย ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะวินิจฉัยโรคนี้ แม้ว่าจะรู้ว่าเป็นโรคซึมเศร้าผู้ป่วยก็มักจะปฏิเสธการรักษา

โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าโรคซึมเศร้าเป็นภาวะปกติของผู้สูงอายุ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมาด้วยอาการทางกาย นอกจากนั้นอาการต่างๆอาจจะเกิดจากผลข้างเคียงของยาที่ใช้รักษาโรค หากสามารถวิเคราะห์ว่าเป็นโรคซึมเศร้าจริงและให้การรักษาจะทำให้ผู้สูงอายุมีความสุข

โรคซึมเศร้าในเด็ก
เด็กๆก็เป็นโรคซึมเศร้าเหมือนกับผู้ใหญ่โดยจะมีอาการ แกล้งป่าย ไม่ไปโรงเรียน ติดพ่อแม่ กังวลว่าพ่อแม่จะเสียชีวิต ส่วนเด็กโตจะนิ่งไม่พูด มีปัญหาที่โรงเรียน มองโลกในแง่ร้าย แต่เนื่องจากพฤติกรรมของเด็กมีความผันผวนดังนั้นการวินิจฉัยจึงยาก หากพ่อแม่หรือคุณครูพบว่าพฤติกรรมของเด็กเปลี่ยนไป กุมารแพทย์จะปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาการรักษา

ประโยชน์และโทษของการกินยาร่วมกัน


สำหรับผู้ที่ไม่ความรู้เรื่องการกินยาหรือว่าอาหารเสริม มักทำให้เข้าใจผิดเกี่ยวกันการกินยาร่วมกันหลายขนาน เช่นคนที่เป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย เลยคิดว่าตนเองต้องกินอาหารเสริมในกลุ่มธาตุเหล็กให้มากเพื่อช่วยเพิ่มเลือด ซึ่งถือว่าเป็นความเข้าใจผิดอย่างมหันต์ ฉะนั้นเรามาดูกันว่ายาชนิดไหนที่สามารถกินร่วมกันได้แล้วก่อให้เกิดประโยชน์กับคนกิน และยาชนิดไหนที่กินร่วมกันไปแล้วก่อให้เกิดโทษ เพื่อที่จะได้ไม่เอาชีวิตอันมีค่าของเราไปเสี่ยงกับการกินยาแบบผิดๆ

ยาและอาหารเสริมที่กินร่วมกันแล้วก่อให้เกิดประโยชน์
- วิตามินซี และ คอลลาเจน จะช่วยกันสร้างเนื้อเยื่อใหม่ให้ใสปิ๊งปั๊ง ไม่เหี่ยว ไม่หย่อนยาน
- ธาตุเหล็ก และ วิตามินซี การจะกินธาตุเหล็กให้ดีดูดซึมเข้าไปใช้ได้ง่าย จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องกินคู่กัน เช่นถ้าจะกินเลือดหมูให้ได้ธาตุเหล็กก็ควรกินกับผักที่มีวิตามินซีสูง เช่นใบตำลึงหรือผักใบเขียวอื่นๆ
- แคลเซียม และ แมกนีเซียม แคลเซียมจะดูดซึมได้ดีต้องมี “ตัวช่วย” พามันเข้าไป ได้แก่แมกนีเซียม, วิตามินดี และ วิตามินเค ด้วยซึ่งอยู่ในแสงแดดและผักเขียวจัดตามลำดับ
- วิตามินเอ วิตามินซี และ วิตามินอี พยายามกินไปด้วยกันเป็นดี หรือสูตรที่ดีคือกินซีเพียงตัวเดียว ส่วนเอกับอีนั้นกินเอาจากผักคะน้าและถั่วลิสงสักวันละกำมือ
- น้ำมันปลา (ไม่ใช่น้ำมันตับปลา) ขอให้เลือกชนิดที่มี ดีเอชเอ + อีพีเอ ยิ่งมากหน่อยยิ่งดีอย่างน้อยกินให้ได้ค่าดีเอชเอ+อีพีเอ = 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน โดยมีเคล็ดไว้ว่าถ้า อยากบำรุงสมอง ต้องเลือกชนิดที่มีดีเอชเอเด่น แต่ถ้าจะให้บำรุงส่วนอื่นเป็นหลักเช่น ข้ออักเสบให้เลือกชนิดที่มี อีพีเอ สูงด้วย

ยาและอาหารเสริมที่กินร่วมกันแล้วก่อให้เกิดโทษ
- น้ำมันปลา และ แอสไพริน คู่ร้ายอันดับแรกโดยน้ำมันปลานี้มีฤทธิ์ช่วยให้เลือดใสไม่หนืดเหนียว ส่วนแอสไพรินก็มีฤทธิ์ เดียวกันคือช่วยให้ไม่เกิดลิ่มเลือดจับแข็งเป็นก้อน ตัน เมื่อกินคู่กันเลยกลายเป็นคู่สังหารพาลให้เลือดไหลพรวดพราดไม่หยุด แม้การกรอฟันเพียงนิดก็อาจทำให้เลือดออกได้ราวกับผ่าตัดใหญ่
- วิตามินอี และ อีฟนิ่งพริมโรส มีคนไข้ที่อยากผิวสวยมาหา พร้อมบอกว่ามีคนแนะให้กินวิตามินอีแต่บ้างก็ให้เลือกเป็นอีฟนิ่งพริมโรสแทนจะเลือกอย่างไรดี จึงได้บอกไปให้เลือกอย่างหนึ่งก็พอเพราะล้วนแต่มีวิตามินอีทั้งนั้นซึ่ง ถ้าได้มากไปอาจทำให้เกิดอันตรายกับหัวใจแทน
- แคลเซียม และ แคลเซียมสด : ถ้าท่านกินงาดำได้วันละ 4 ช้อนโต๊ะหรือเต้าหู้ขาวแข็งวันละ 3 ขีดก็จะได้แคลเซียมราว 1,000 มิลลิกรัมอยู่แล้ว ซึ่งถ้าไปหาแคลเซียมเม็ดมากินเติมอีกจะทำให้แคลเซียมเกินและไปจับกับหลอด เลือดทำให้ตีบแข็งได้
- กาแฟ และ แคลเซียม ขอให้เลี่ยงกินแคลเซียมร่วมกับกาแฟเพราะกาแฟจะไปยับยั้งการดูดซึมแคลเซียมนอกจากนั้นยังไปดึงแคลเซียมออกจากกระดูกอีกด้วย
- ธาตุเหล็ก และ เลือดจางธาลัสซีเมีย : เป็นไม้เบื่อไม้เมากันทีเดียว ขอให้ลืมความเชื่อที่ว่าถ้าเลือดจางต้องกินธาตุเหล็ก ไม่เสมอไป หากท่านเป็นเลือดจางชนิดธาลัสซีเมียแล้วไปกินธาตุเหล็กเสริมจะเท่ากับเติมยาพิษให้กับหัวใจและตับตัวเอง


ไข้หวัดใหญ่ 2009 (H1N1)


เป็นโรคที่แพร่ติดต่อระหว่างคนสู่คน เริ่มพบที่ประเทศเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกา ต่อมาได้แพร่ออกไปยังอีกหลายประเทศ สาเหตุของเชื้อ เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 (A/H1N1) ซึ่งเป็นเชื้อไข้หวัดใหญ่ตัวใหม่ ที่ไม่เคยพบมาก่อน เกิดจากการผสมสารพันธุกรรมของเชื้อไข้หวัดใหญ่ของคน สุกร และนก


แพร่เชื้อโดย
เชื้อไวรัสที่อยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย แพร่ติดต่อไปยังคนอื่น ๆ โดยการไอจามรดกันโดยตรง หรือหายใจเอาฝอยละอองเข้าไป หากอยู่ใกล้ผู้ป่วยในระยะ 1 เมตร บางรายได้รับเชื้อทางอ้อมผ่านทางมือหรือสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น แก้วน้ำ ลูกบิดประตู โทรศัพท์ ผ้าเช็ดมือ เป็นต้น เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูก ตา ปาก ผู้ป่วยอาจเริ่มแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 1 วันก่อนป่วย ช่วง 3 วันแรกจะแพร่เชื้อได้มากสุด และระยะแพร่เชื้อมักไม่เกิน 7 วัน

อาการไข้หวัด 2009
ในคนนั้นมีอาการคล้ายกันกับอาการของคนที่เป็นหวัดปกติ และมีอาการต่อไปนี้คือ มีไข้ ท้องเสีย เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดศรีษะ หนาว และ ไม่มีเรี่ยวแรง อ่อนล้า ร่วมด้วย ในบางคนมีอาการท้องเสียร่วมกับอาเจียน และในอดีตมีรายงานว่าผู้ป่วยหลายคนมีอาการรุนแรงถึงขั้นเป็นปอดบวม และ ระบบหายใจล้มเหลว และเสียชีวิตในที่สุด เช่นเดียวกันกับหวัด ที่ไข้หวัด 2009อาจจะแย่ลงจนต้องมีสภาพการเรื้อรัง

วิธีรักษา
สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที ซึ่งแพทย์จะพิจารณาให้ยาต้านไวรัส คือ ยาโอลเซลทามิเวียร์ (oseltamivir) เป็นยาชนิดกิน หากผู้ป่วยได้รับยาภายใน 2 วันหลังเริ่มป่วย จะให้ผลการรักษาดี ในส่วนผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อย เช่น มีไข้ต่ำ ๆ และยังรับประทานอาหารได้ อาจไปพบแพทย์ที่คลินิก หรือขอรับยาและคำแนะนำจากเภสัชกรใกล้บ้าน และดูแลรักษากันเองที่บ้าน โดย
- รับประทานยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้พาราเซตามอล ยาละลายเสมหะ เป็นต้น และเช็ดตัวลดไข้เป็นระยะด้วยน้ำสะอาดไม่เย็น
- ดื่มน้ำสะอาดและน้ำผลไม้มาก ๆ งดดื่มน้ำเย็น
- พยายามรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ได้มากพอเพียง เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ ผัก ผลไม้ เป็นต้น หากรับประทานอาหารได้น้อย อาจต้องได้รับวิตามินเสริม
- นอนหลับพักผ่อนมาก ๆ ในห้องที่อากาศถ่ายเทดี
- ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ ยกเว้นติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ซึ่งต้องรับประทานยาจนหมดตามแพทย์สั่ง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อดื้อยา

วิธีป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น
- หากป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ ควรลาหยุดงาน หยุดเรียน เป็นเวลา 3 - 7 วัน ซึ่งจะช่วยลดการแพร่ระบาดได้มาก
- พยายามหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดคลุกคลีกับคนอื่น ๆ
- สวมหน้ากากอนามัย เมื่ออยู่กับผู้อื่น หรือใช้ทิชชูปิดจมูกปากทุกครั้งที่ไอจาม ทิ้งทิชชูลงในถังขยะที่มีฝาปิด แล้วล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่
ใส่ใจ ห่วงใยคนรอบข้าง
สวมหน้ากากอนามัย และล้างมือบ่อย ๆ

วิธีป้องกันไม่ให้ตนเองได้รับเชื้อ
- หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่
- หากต้องดูแลผู้ป่วย ควรสวมหน้ากากอนามัย เมื่อดูแลเสร็จ ควรรีบล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาดทันที
- ไม่ใช้แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อนอาหาร ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดหน้าร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่
- ใช้ช้อนกลางทุกครั้ง เมื่อรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
- หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังไอ จาม
- รักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมทั้งไข่ นม ผัก และผลไม้ ดื่มน้ำสะอาดและนอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงบุหรี่และสุรา

เคล็ดลับการดูแลสุขภาพเล็บ (Nail Care Tips)


การดูแลเล็บนั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องฉาบฉวยเพียงเพื่อความสวยงาม แต่การรู้จักทะนุถนอมเล็บให้อยู่ในสภาพดี พร้อมกับเข้าใจในความผิดปกติของเล็บที่อาจเกิดขึ้น จะช่วยทำให้คุณมีสุขภาพเล็บและรวมไปถึงสุขภาพกายที่ดีขึ้นได้ด้วย ถ้าไม่เชื่อคุณลองเอา 8 วิธีการดูแลรักษาเล็บนี้ไปใช้ดูรับรองคุณจะเป็นคนที่มีเล็บสวยและสุขภาพเล็บดีด้วย


1. อย่าล้างมือบ่อยเกินไป หลังล้างมือแล้ว เช็ดให้แห้ง เป่าลมร้อนช่วยด้วยจะยิ่งทำให้เล็บแห้งได้สนิท ทาโลชั่นที่บำรุงมือและเล็บโดยเฉพาะ (Hand and nail) อย่างสม่ำเสมอ
2. เวลาที่เหมาะสมที่สุดในการตัดเล็บ ก็คือหลังอาบน้ำ หรือหลังล้างจาน
เพราะเล็บจะสะอาดและมีความอ่อนนุ่ม ทำให้ง่ายต่อการตัดแต่ง แต่ถ้าหากไม่รอหลังอาบน้ำให้แช่เล็บในน้ำอุ่น สัก 5 นาที ก่อนตัดเล็บ
3. ไม่ควรใช้น้ำยาล้างยาทาเล็บเกินกว่าอาทิตย์ละครั้ง เนื่องจากจะทำให้เล็บแห้ง และแตกง่าย
sealer หรือ top coat ยาเคลือบเงาเล็บเป็นน้ำยาที่ใช้ทาทับยาทาเล็บอีกทีหนึ่ง ลดการสัมผัสกับสีทาเล็บโดยตรงแล้วยังช่วยให้สีทาเล็บติดทนนานยิ่งขึ้น ซึ่งคุณสามารถ ใช้ยาทาเล็บแบบสีใส ชนิดใดก็ได้มาทาเพื่อการนี้ ซึ่งจะช่วยลดการกร่อน และแตกของเล็บได้ คุณสามารถใช้ยาทาเล็บใสนี้ได้ทุกวัน เพื่อช่วยปกป้องและคงความชุ่มชื้นให้เล็บ
4. ควรหลีกเลี่ยงการทำเล็บบ่อยๆ ที่ร้านเสริมสวย เพราะช่างมักจะแคะเล็ม ตัดจมูกเล็บให้เสียหาย และการขูดผิวเล็บเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการผลัดเซลล์ผิวทำให้เล็บเงางามขึ้น ผิวเล็บเรียบ และดูมีสุขภาพดีขึ้น โดยใช้อุปกรณ์ขูดลอกหน้าเล็บ ดันจากปลายเล็บเข้าหาโคนเล็บ หลังจากนั้น ใช้แผ่นขัดเล็บ ซึ่งคล้ายกระดาษทราย ขัดหน้าเล็บเบา เพื่อให้ผิวหน้าเล็บเรียบสม่ำเสมอ แล้วใช้แผ่นขัดทำความสะอาดเล็บ ถูเบาๆ เพื่อให้ฝุ่นและเศษเล็บที่มองไม่เห็นหลุดออกไป จากนั้นใช้แผ่นขัดเงาซึ่งมีเจลาตินเคลือบอยู่ ขัดถูบนหน้าเล็บเบาๆ ก็จะได้เล็บที่เงางามดูมีสุขภาพดี การขัดเงาเล็บแต่ละครั้งจะอยู่ได้ประมาณ 2 สัปดาห์
5. ตัดเล็บให้มีขนาดสั้นพอประมาณ เพราะการไว้เล็บยาวเกินไปอาจทำให้เล็บเกิดฉีกขาดได้ง่ายควรตัดให้มีความโค้งมนไปตามนิ้วมือ ส่วนเล็บเท้านั้น พยายามตัดให้เป็นเส้นตรงมากที่สุดเพื่อลดการสะสมของความสกปรกตามซอกเล็บและโอกาสเกิดเล็บขบ ไม่ควรตัดสั้นจนชิดเนื้อมากเกินไป และไม่ควรใช้วัสดุใดๆ งัดแงะขอบเล็บ จมูกเล็บ เพราะอาจเกิดบาดแผลและการอักเสบได้ และอีกสิ่งที่มาควบคู่กับการตัดเล็บก็คือการตะไบ การตะไบเล็บให้สวย ถ้าหากใช้ตะไบเล็บที่ทำจากเหล็ก ควรตะไบเล็บไปในทิศทางเดียว ไม่ควรถูกลับไปกลับมา เพราะจะทำให้เล็บเป็นเสี้ยนคมหรือฉีก แต่ถ้าใช้ตะไบเล็บที่ทำจากเซรามิคสามารถตะไบสวนทางกันได้ นอกจากนี้ การตะไบเล็บควรตะไบจากขอบเล็บเข้าหาปลายเล็บเสมอ
6. สำหรับเล็บที่แต่งด้วยยาทาเล็บเป็นประจำ จะทำให้เล็บมีสีเหลือง ดังนั้นลองแช่นิ้วมือ และเท้าใน น้ำมะขามที่ผสมน้ำทิ้งไว้สักครู่ประมาณ 10 นาที แล้วล้างออก หรือจะใช้มะนาวฝานมาถูเล็บบ่อยๆ ก็ได้ผลเช่นเดียวกัน
7. ควรมีเวลาให้เล็บได้ว่างเว้นจากการทาสี เพราะนอกจากเล็บจะได้พักหรือฟื้นสภาพที่เสียไปแล้ว ยังเป็นโอกาสให้เราได้สังเกตความผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับเล็บอีกด้วย การต่อเล็บ หรือการตกแต่งประดับเล็บนั้น ควรทำโดยผู้ที่มีความรู้ความชำนาญ และต้องใช้อุปกรณ์ที่สะอาด และมีคุณภาพ ไม่เช่นนั้นอาจเกิดการแพ้หรือการสะสมของเชื้อโรค หากชื่นชอบการต่อเล็บและตกแต่งเล็บด้วยเครื่องประดับ ต้องหมั่นสังเกตดูว่า เล็บเกิดมีจุดดำ หรือเปลี่ยนสี หรือผิดรูปหรือเปล่า
8. การล้างทำความสะอาดเล็บ ควรล้างมือและเล็บด้วยน้ำสบู่อุ่นๆ ใช้แปรงนุ่มๆ ขัดตามซอกเล็บเบาๆ และล้างออกด้วยน้ำสะอาด ชโลมด้วยครีมบำรุง เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับมือและเล็บ บางครั้งยาทาเล็บ คราบสกปรก หรือแม้แต่เชื้อแบคทีเรีย อาจฝังอยู่บนเล็บเป็นรอยเลอะๆ ได้โดยใช้ สำลีชุบไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (น้ำยาล้างแผล) บีบลงตามซอกเล็บทิ้งไว้สักครู่ สิ่งสกปรกจะลอยออกมาอย่างง่ายดาย แล้วใช้ไม่พันสำลีเล็กๆ เช็ดออก คุณก็ไม่ต้องแคะซอกเล็บให้เจ็บนิ้ว



ปวดหลัง(Back Pain)

อาการปวดหลังมักจะพบได้ตั้งแต่วัยหนุ่มสาวเป็นต้นไป เป็นภาวะที่ไม่มีอันตรายร้ายแรง และมักจะหายได้เอง แต่อาจเป็นๆ หาย ๆ เรื้อรังได้ สาเหตุมักเกิดจากการทำงานก้ม ๆ เงย ๆ ยกของหนัก นั่ง ยืน นอน หรือยกของในท่าที่ไม่ถูกต้อง ใส่รองเท้าส้นสูงมากเกินไป หรือนอนที่นอนนุ่มเกินไป ทำให้เกิดแรงกดตรงกล้ามเนื้อสันหลังส่วนล่าง ซึ่งจะมีอาการเกร็งตัว ทำให้เกิดอาการปวดตรงกลางหลังส่วนล่าง คนที่อ้วน หรือหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ ก็อาจมีอาการปวดหลังได้เช่นกัน อาการที่พบคือ ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดตรงกลางหลังส่วนล่าง (ตรงบริเวณกระเบนเหน็บ) ซึ่งอาจเกิดขึ้นเฉียบพลันหรือค่อยเป็นทีละน้อย อาการปวดอาจเป็นอยู่ตลอดเวลา หรือปวดเฉพาะในท่าบางท่า การไอ จาม หรือบิดตัว เอี้ยวตัวอาจทำให้รู้สึกปวดมากขึ้น โดยทั่วไปผู้ป่วยจะแข็งแรงดี และไม่มี
อาการผิดปกติอื่น ๆร่วมด้วย


วิธีการรักษาอาการปวดหลัง
1. สังเกตว่ามีสาเหตุจากอะไร แล้วแก้ไขเสีย เช่น ถ้าปวดหลังตอนตื่นนอน ก็อาจเกิดจากที่
นอนนุ่มไป หรือนอนเตียงสปริง ก็แก้ไขโดยนอนบนที่แข็งและเรียบแทนถ้าปวดหลังตอนเย็น
ก็มักจะเกิดจากการนั่งตัวงอตัวเอียง หรือใส่รองเท้าส้นสูง ก็พยายามนั่งให้ถูกท่า หรือเปลี่ยน
เป็นรองเท้าธรรมดาแทน ถ้าอ้วนไป ควรพยายามลดน้ำหนัก
2. ถ้ามีอาการปวดมาก ให้นอนหงายบนพื้น แล้วใช้เท้าพาดบนเก้าอี้ให้เข่างอเป็นมุมฉาก
สักครู่หนึ่งก็อาจทุเลาได้ หรือจะใช้ยาหม่อง หรือน้ำมันระกำทานวด หรือใช้น้ำอุ่นประคบก็ได้
ถ้าไม่หาย ก็ให้ยาแก้ปวด เช่น แอสไพริน, พาราเซตามอล ครั้งละ 1-2 เม็ด จะกินควบกับ
ไดอะซีแพมขนาด 2 มก.ด้วยก็ได้ ถ้ายังไม่หาย อาจให้ยาคลายกล้ามเนื้อ เช่น เมโทคาร์บา มอล ,
คาริโซม่า ครั้งละ 1 เม็ด ซ้ำ ได้ทุก 6-8 ชั่วโมง ผู้ป่วยควรนอนที่ นอนแข็ง และหมั่นฝึก กายบริหารให้กล้ามเนื้อหลังแข็งแรง
3. ถ้าเป็นเรื้อรัง หรือมีอาการชาที่ขา หรือขาไม่มีแรง อาจเกิดจากสาเหตุอื่น ควรแนะนำ ผู้ป่วยไป
โรงพยาบาล อาจ ต้องเอกซเรย์หลัง หรือตรวจพิเศษอื่น ๆ และให้การรักษาตาม สาเหตุที่พบ

ข้อเตือนอีกนิดนึงสำหรับอาการปวดหลังแบบนี้เป็นสิ่งที่พบได้บ่อยในหมู่ชาวไร่ชาวนา กรรมกรที่ทำงานหนัก และในหมู่คนที่ทำงานนั่งโต๊ะนาน ๆ ซึ่งมักจะเข้าใจผิดว่า เป็นอาการของโรคไต โรคกษัย และซื้อ ยาชุด ยาแก้กษัย หรือยาแก้โรคไต กินอย่างผิด ๆ ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เกิดโทษได้ ดังนั้น จึงแนะนำให้เข้าใจถึง สาเหตุของอาการปวดหลัง และควรใช้ยาเท่าที่จำเป็น
โดยทั่วไป การปวดหลังเนื่องจากกล้ามเนื้อมักจะปวดตรงกลางหลัง ส่วนโรคไตมักจะปวดที่สีข้าง
และอาจมีไข้สูง หนาวสั่น หรือปัสสาวะขุ่นหรือแดงร่วมด้วย ถ้าไม่แน่ใจก่อนจะหายามากินเอง ควรจะปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนจะดีกว่า

สำหรับวิธีการป้องกันโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยระวังรักษาท่านั่ง ท่ายืน ท่ายกของ ให้ถูกต้อง หมั่นออกกำลัง กล้ามเนื้อหลังเป็นประจำ และนอนบนที่นอนแข็ง

ผมร่วง (Hair Loss)

โดย 2ใน3 ของคนที่เคยประสบปัญหาผมร่วงมาแล้ว และในจำนวนนี้เป็นผมร่วงถาวรเสียด้วยซิ แต่สาเหตุผมร่วงบางอย่างสามารถแก้ไขได้ โดยทั่วไปคนเราจะมีเส้นผมอยู่ประมาณ 100,000 เส้น และเส้นผมจะงอกอย่างสม่ำเสมอทุกๆวัน ในแต่ละวันจะมีผมร่วงได้วันละ 50 – 100 เส้น ถือว่าปกติ เส้นผมจะงอกยาวประมาณ 1/2 นิ้ว ต่อเดือนโดยผมแต่ละเส้นจะอยู่บนศีรษะนาน 2-6 ปี ทีเดียว และระหว่างนี้ผมก็จะงอกยาวเรื่อยๆ เมื่อเส้นผมแก่ตัวขึ้นก็จะหยุดงอก แต่ก็จะยังคงอยู่บนศีรษะ เพียงแต่จะไม่งอกอีกเท่านั้น และสุดท้ายก็จะร่วงไปแล้วเส้นผมใหม่ก็จะค่อยๆ ก่อตัวขึ้นภายใน 6 เดือน แต่มีปัจจัยหลายอย่างที่สามารถหยุดยั้งกระบวนการทั้งหมดของเส้นผมนี้

1. อายุและฮอร์โมน ส่วนใหญ่ผมจะร่วงเมื่ออายุมากขึ้นโดยอายุ, ฮอร์โมนและพันธุกรรม จะเป็นสาเหตุให้ผมร่วงได้มากกว่า ปัจจัยอื่นๆ และผู้ชายจะพบปัญหานี้มากกว่าผู้หญิงซึ่งผมร่วงนี้จะเกิดขึ้นเมื่ออายุ 25-30 ปี สำหรับผู้หญิงจะผมร่วง โดยเริ่มจากการที่ผมเส้นเล็กลงและสั้นเมื่อลูบผมก็จะมีผมเส้นบางและสั้นติดมือมาสาเหตุผมร่วงชนิดนี้เป็นสาเหตุชนิดเดียวที่มักจะทำให้เกิดผมร่วงถาวร หรือหัวล้านนั่นเอง
2. ยา ยางบางชนิดโดยเฉพาะที่ใช้รักษามะเร็งทำให้ผมร่วงได้ นอกจากยารักษามะเร็งแล้วยารักษาความดันโลหิต, ยาต้านอาการซึมเศร้า, ยาคุม และวิตามินเอขนาดสูง ก็ทำให้ผมร่วงได้ แต่เป็นการร่วงชั่วคราวเท่านั้น
3. อาหารโปรตีนน้อย รวมทั้งธาตุเหล็กน้อย จะทำให้ผมร่วงได้
4. ความเครียด หรือการเจ็บป่วย จะทำให้ผมร่วงได้ 1-3 เดือนเลยทีเดียว
5. การคลอดลูก ผู้หญิงหลังคลอดจะมีผมร่วงได้ภายใน 2-3 เดือนหลังคลอด
6. เป็นโรคไทรอยด์ ก็ทำให้ผมร่วงได้เชื่อราของหนังศีรษะ ซึ่งต้องรักษาโดยแพทย์ผิวหนัง
สำหรับการรักษานั้นก็ขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเกิดผมร่วง ยกเว้นสาเหตุเดียวที่มักจะเป็นผมร่วงถาวร คือสาเหตุจากอายุและพันธุกรรม ซึ่งต้องปรึกษาแพทย์เฉพาะทางที่อาจจะเลือกการใส่วิกผม, รับประทานยากระตุ้น, และผ่าตัดปลูกถ่ายผม


โรคกระเพาะอาหาร (Peptic Ulcer)


โรคกระเพาะอาหาร เป็นโรคที่หลายคนที่เคยเป็นแล้ว ปฏิเสธไม่ได้ว่าไม่ทรมาน เมื่อหิวก็ปวด เมื่ออิ่มก็ปวด ช่างน่ารำคาญใจเหลือเกิน บางครั้งก็จะรู้สึกปวดเวลาหิวหรือท้องว่างเมื่อกินอาหารหรือนม ก็จะหายปวด บางรายจะปวดหลังจากกินอาหาร หรือปวดกลางดึกก็ได้ อาการที่จะพบ ก็คือ จุกเสียด แน่นท้อง ท้องอืด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ เรอลม มีลมในท้อง ปวดแสบปวดร้อนในท้อง คลื่นไส้อาเจียน


สาเหตุหลักของการเกิดโรคกระเพาะอาหาร

1. สาเหตุที่กระเพาะอาหารมีกรดมากขึ้น เกิดขึ้นเนื่องจาก
- กระตุ้นของปลายประสาท เกิดจากความเครียด วิตกกังวลและอารมณ์
- การดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า เบียร์ ยาดอง
- การสูบบุหรี่
- การดื่มกาแฟ
- การทานอาหารไม่เป็นเวลา

2. มีการทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร เกิดจาก
- การกินยาแก้ปวด ลดไข้ แก้ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ ยาชุดที่มีแอสไพริน และยาสเตียรอยด์ ยาลูกกลอนต่างๆ
- การกินอาหารเผ็ดจัด และเปรี้ยวจัดจากน้ำสมสายชู
- การดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า เบี้ย ยาดอง



 
Design by Pitchaya.net | Bloggerized by สูตรอาหาร | ขายลำไยอบแห้ง ลองกานอยด์ Health Lover นิ้วล็อค สารสกัดงาดำ เอมมูร่า เซซามิน