โรคซึมเศร้า (Depression)


โรคซึมเศร้าอาจจะ เกิดในคนที่มีการสูญเสีย หรือโรคซึมเศร้าอาจจะเกิดในคนที่มีโรคประจำตัวหรือเกิดในคนปกติทั่วๆไป โรคซึมเศร้าจะทำให้การดำรงชีวิตเปลี่ยนแปลงและเกิดความเจ็บปวดทั้งผู้ป่วย และผู้ดูแล บางครั้งอาจจะทำให้ครอบครัวเกิดการแตกแยกหรือครอบครัวต้องสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักไป ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่ทราบว่าตัวเองเป็นโรคซึมเศร้า เลยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ทั้งที่ปัจจุบันมียาและวิธีการรักษาที่ได้ผลดี ฉะนั้นบทความนี้จะเป็นแนวทางในการวินิจฉัยให้กับบุคคลในครอบครัวหรือผู้ใกล้ชิด หากพบว่าคนใกล้ชิดมีอาการเหมือนกับโรคซึมเศร้าดังดังต่อไปนี้รีบแนะนำให้เขาไปพบจิตแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัยโดยด่วน ถ้าหากไม่ใช่ก็ถือว่าโชคดีไป แต่ถ้าใช่จะได้รีบทำการรักษาอย่างทันท่วงที

โรคซึมเศร้าคืออะไร
โรคซึมเศร้าเป็นการเจ็บป่วยทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจและด้านความคิด ซึ่งผลของโรคจะไปกระทบต่อชีวิตประจำวันเช่น การรับประทานอาหาร การหลับนอน ความรับรู้ตัวเอง ผู้ป่วยไม่สามารถประสานความคิด ความรู้สึกของตัวเพื่อแก้ปัญหา หากไม่ได้รับรักษาอาการอาจจะอยู่เป็นเดือน แล้วจะเริ่มมีอาการที่รุนแรงขึ้น

โรคซึมเศร้ามีกี่ชนิด
1. โรคซึมเศร้าแบบเมเจอร์ ดีเพรสชั่น (Major depression) ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าชนิดนี้จะมีความผิดปกติที่มีอารมณ์ซึมเศร้านานกว่า 2 สัปดาห์ ผู้ที่ป่วยจะมีอาการเศร้าสลดอย่างมากจนไม่มีความสนใจในกิจกรรมต่างๆที่จะช่วยทำให้กลับมามีความสุขสดชื่นเหมือนเดิม ดังนั้นควรเริ่มรักษาแต่เนิ่นๆ จะช่วยไม่ให้โรคซึมเศร้าแบบนี้ มีความรุนแรงขึ้น อีกทั้งยังลดความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายอีกด้วย
2. โรคซึมเศร้าแบบดิสทีเมีย (Dysthymia) ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าชนิดนี้จะมีอาการรุนแรงน้อยกว่าชนิดแรก แต่เป็นอย่าง ต่อเนื่องนานกว่า นั่นคือจะมีอาการอย่างน้อย 2 ปีแต่มักจะนานกว่า 5 ปี อาการไม่รุนแรงถึงขนาดทำอะไรไม่ได้ เนื่องจากผู้ที่ป่วยจะมีอารมณ์ปกติสลับไปด้วย
3. โรคซึมเศร้าแบบไบโพลาร์ ดิสออร์เดอร์ (Bipolar disorder) ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ชนิดนี้บางรายจะมีอารมณ์เซ็ง ซึมเศร้า สลับกับอาการลิงโลด โดยเป็นอารมณ์ที่ต่างกันหรือ ต่างขั้วกัน โรคซึมเศร้าชนิดนี้จะมีผลต่อการ ตัดสินใจและมักก่อให้เกิดปัญหา เช่น การ ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย หรือตัดสินใจผิดๆ และอาจมีความคิดฆ่าตัวตายในช่วงที่มีอาการซึมเศร้าได้

อาการโรคซึมเศร้า depression
1. การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ได้แก่
- รู้สึกซึมเศร้า กังวล อยู่ตลอดเวลา
- หงุดหงิดฉุนเฉียว โกรธง่าย
- อยู่ไม่สุข กระวนกระวาย
2. การเปลี่ยนแปลงทางความคิด
- รู้สึกสิ้นหวัง มองโลกในแง่ร้าย
- รู้สึกผิด รู้สึกตัวเองไร้ค่า ไม่มีทางเยียวยา
- มีความคิดจะทำร้ายตัวเอง คิดถึงความตาย พยายามทำร้ายตัวเอง
3. การเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้หรือการทำงาน
- ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ความสนุก งานอดิเรก หรือกิจกรรมที่เพิ่มความสนุกรวมทั้งกิจกรรมทางเพศ
- รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีพลังงาน การทำงานช้าลง การงานแย่ลง
- ไม่มีสมาธิ ความจำเสื่อม การตัดสินใจแย่ลง
4. การเปลี่ยนปลงทางพฤติกรรม
- นอนไม่หลับ ตื่นเร็ว หรือบางรายหลับมากเกินไป
- บางคนเบื่ออาหารทำให้น้ำหนักลด บางคนรับประทานอาหารมากทำให้น้ำหนักเพิ่ม
- มีอาการทางกายรักษาด้วยยาธรรมดาไม่หายเช่น อาการปวดศีรษะ แน่นท้อง ปวดเรื้อรัง
- ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นแย่ลง

อาการ Mania
- มีอาการร่าเริงเกินเหตุ
- หงุดหงิดง่าย
- นอนน้อยลง
- หลงผิดคิดว่าตัวเองเก่ง ตัวเองใหญ่
- พูดมาก
- มีความคิดชอบแข่งขัน
- ความต้องการทางเพศเพิ่ม
- มีพลังงานมาก
- ตัดสินใจไม่ดี
- มีพฤติกรรมเปลี่ยนไป

สาเหตุของโรคซึมเศร้า
1. พันธุ์กรรม พบว่าโรคซึมเศร้าชนิด bipolar disorder มักจะเป็นในครอบครัวและต้องมีสิ่งที่กระตุ้น เช่นความเครียด
2. มีการเปลี่ยนแปลงการทำงานของสมองหรือสารเคมีในสมองการเปลี่ยนแปลงของสมดุลของสารเคมี ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทในสมอง มีผลต่ออารมณ์ซึมเศร้าของคน (โดยเฉพาะสารสีโรโทนิน นอร์เอปิเนพริม และโดปามีน)
3. ผู้ที่มองโลกในแง่ร้าย ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง
4. โรคทางกายก็สามารถทำให้เกิดโรคซึมเศร้า เช่นโรคหัวใจ อัมพาต ทำให้ผู้ป่วยมาสนใจดูแลตัวเองโรคจะหายช้า
5. มีการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในเลือด เช่นวัยทอง หรือหลังคลอดก็สามารถทำให้เกิดอาการซึมเศร้า
6. ความเครียดที่เกิดจากสาเหตุต่างเช่น การสูญเสีย การเงิน การงาน ปัญหาในครอบครัวก็สามารถเป็นเหตุให้เกิดโรงซึมเศร้า
7. ผู้ที่เก็บกดไม่สามารถแสดงอารมณ์ออมา เช่นดีใจ เสียใจหรืออารมณ์โกรธ
8. ผู้ที่ด้อยทักษะต้องพึ่งพาผู้อื่น

วิธีบำบัดและรักษาโรคซึมเศร้า
1. ระยะเฉียบพลัน จะใช้ยาบรรเทาอาการเศร้าจนรู้สึกดีขึ้น และทานยาต่อไปอีก 6-12 เดือน เพื่อป้องกันอาการกลับมาเป็นซ้ำอีก ดังนั้นแม้จะ รู้สึกสบายดีก็ยังต้องกินยาตามแพทย์สั่งอย่าง ต่อเนื่อง
2. เนื่องจากผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามักจะกลับมาป่วยซ้ำหรืออาจมีอาการกำเริบซ้ำ จึง ถือว่าโรคซึมเศร้าเป็นโรคเรื้อรังจำเป็นต้องได้รับยาระยะยาว

โรคซึมเศร้าในผู้หญิง
ผู้หญิงจะเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าผู้ชาย 2 เท่าเชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเช่น การมีประจำเดือน การตั้งครรภ์ การแท้ง ภาวะหลังคลอด วัยทอง เป็นต้น นอกจากนั้นยังอาจจะเกิดจากความเครียดที่ต้องรับผิดชอบทั้งในบ้านและงานนอกบ้าน การรักษาให้ญาติเข้าใจภาวะของผู้ป่วยและให้กำลังใจแก่ผู้ป่วย

โรคซึมเศร้าในผู้ชาย
แม้ว่าโรคซึมเศร้าในผู้ชายจะพบน้อยกว่าผู้หญิงแต่อัตราการฆ่าตัวตายจะสูงกว่าผู้หญิง โรคซึมเศร้าในผู้ชายจะเกิดโรคทางกายพบว่าอัตราการเกิดโรคหัวใจจะสูงมาก ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้ามักจะใช้ยาเสพติดและสุราเป็นตัวแก้ไข บางคนก็มุ่งทำงานหนัก ผู้ป่วยจะไม่มีความรู้สึกสิ้นหวังหรือท้อแท้แต่จะหงุดหงิดง่าย โกรธง่าย ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะวินิจฉัยโรคนี้ แม้ว่าจะรู้ว่าเป็นโรคซึมเศร้าผู้ป่วยก็มักจะปฏิเสธการรักษา

โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าโรคซึมเศร้าเป็นภาวะปกติของผู้สูงอายุ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมาด้วยอาการทางกาย นอกจากนั้นอาการต่างๆอาจจะเกิดจากผลข้างเคียงของยาที่ใช้รักษาโรค หากสามารถวิเคราะห์ว่าเป็นโรคซึมเศร้าจริงและให้การรักษาจะทำให้ผู้สูงอายุมีความสุข

โรคซึมเศร้าในเด็ก
เด็กๆก็เป็นโรคซึมเศร้าเหมือนกับผู้ใหญ่โดยจะมีอาการ แกล้งป่าย ไม่ไปโรงเรียน ติดพ่อแม่ กังวลว่าพ่อแม่จะเสียชีวิต ส่วนเด็กโตจะนิ่งไม่พูด มีปัญหาที่โรงเรียน มองโลกในแง่ร้าย แต่เนื่องจากพฤติกรรมของเด็กมีความผันผวนดังนั้นการวินิจฉัยจึงยาก หากพ่อแม่หรือคุณครูพบว่าพฤติกรรมของเด็กเปลี่ยนไป กุมารแพทย์จะปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาการรักษา

 
Design by Pitchaya.net | Bloggerized by สูตรอาหาร | ขายลำไยอบแห้ง ลองกานอยด์ Health Lover นิ้วล็อค สารสกัดงาดำ เอมมูร่า เซซามิน